วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556



การวาดเส้น


การวาดเส้น เป็นการที่มนุษย์ใช้มือจับ วัสดุ หรือ เครื่องเขียนชนิดต่างๆ เขียน ลาก ขูด ขีด ลงบนกระดาษ หรือ บนพื้นระนาบ เพื่อให้เกิดรูปร่างตามที่ต้องการ และ สร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หรือ เพื่อบอกกล่าว เสนอแนะ ให้ผู้พบเห็นได้คิด ได้ชื่นชม ได้รับรู้ตามวัตถุประสงค์ การวาดเส้นเป็นผลมาจากควานเข้าใจ และ รู้จักถ่ายทอดที่ฉลาดของมนุษย์โดยมีสมองสั่งการ ซึ่งมีมือทำหน้าที่วาด ด้วยวิธีการ และ เทคนิคต่างๆ ออกเป็นรูปภาพ และ ช่วยสื่อความหมาย ดังนั้นการวาดเส้นที่จะได้ผลงานที่ดี ต้องได้รับการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะฝีมือ และ มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับหลักการ องค์ประกอบต่าง ๆ รวมถึง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ในงานวาดเส้น

เครื่องมือในการวาดเส้น
ดินสอ เป็นเครื่องมือหลัก หรือ เป็นเครื่องมือพื้นฐานของการฝึกที่จะได้ผลดีในระยะ เริ่มต้นในการจับเพื่อการวาดเส้น จะมีข้อแตกต่างจากการจับเพื่อการเขียนหนังสื่อ เพราะในบางเส้นอาจจะต้องออกแรงกด เพื่อการเน้นน้ำหนักของภาพ หรือ ยกเบาให้เกิดน้ำหนักอ่อน
การจับกดเพื่อให้เกิดเส้นมีน้ำหนัก
  การจับเขียนในลักษณะภาพร่างหรือให้น้ำหนักเบา
เทคนิคพื้นฐานของการวาดเส้นให้ได้ขนาดต่าง ๆ โดยการวางตำแหน่งของปลายดินสอ บนพื้นกระดาษ ในลักษณะของการจับดินสอเอียง หรือ เฉียง จะเกิดความแตกต่างของขนาดเส้นที่ได้ ถ้าจับวาดในแนวดิ่งจะได้เส้นเล็ก ถ้าเอียงมุมลง เส้นจะโตขึ้น หรือถ้าต้องการให้ได้พื้นที่มากแบบระบาย ก็จับดินสอให้เอียงมากขึ้น

ตำแหน่งของปลายดินสอ

ขนาดของเส้นที่ได้
ในการฝึกวาดเส้นพื้นฐาน การลากเส้นในลักษณะต่างๆ มีความจำเป็นมากในเบื้องต้น เพราะจะช่วยให้มีความคุ้นเคยกับการจับเครื่องมือในการวาด และมีทักษะในการบังคับทิศทางของการลากเส้น ซึ่งพอจะแบ่งในการฝึก ได้ดังนี้
1. ลากเส้นตรง แนวดิ่ง
  
จะเป็นการลากเส้นจากบนลงล่าง สลับจากล่างขึ้นบนก็ได้ แต่ต้องบังคับให้เป็นเส้นตรงแนวดิ่งให้มากที่สุด รักษาระยะห่างเท่ากัน ขนาดความยาวเท่ากัน  เส้นแนวดิ่งจะให้ความรู้สึก       ตั้งมั่นคง
2. ลากเส้นตรงแนวนอน
เริ่มจากซ้ายไปขวา แล้วสลับ ขวามาซ้ายก็ได้ แต่ต้องบังคับมือเส้นตรงได้แนวนอนให้มากที่สุด รักษาระยะห่างเท่ากัน ขนาดความยาวเท่ากัน เส้นแนวนอน จะให้ความรู้สึกราบเรียบ สงบ

3. ลากเส้นตรงแนวเฉียง
การบังคับค่อนข้างจะยากกว่าลากเส้นแนวดิ่ง แต่การฝึกเป็นประจำ และ มีสติรับรู้ขณะลากเส้น ก็จะทำให้บังคับได้ดี ลักษณะเส้นโดยรวมดูมีระเบียบ เส้นเฉียงจะให้ความรู้สึก ไม่มั่นคง ล้ม
4. ลากเส้นตรงสลับแนว
การลากเส้นสลับไปมา หรือ ที่เรียกว่า ซิกเซ็ก เป็นการลากเส้นตรง ผสมผสาน ของเส้นเฉียง เป็นการฝึกลากเส้นที่มีความต่อเนื่องไปมา โดยบังคับเส้นให้ขนาดมีระเบียบ มีจังหวะของความยาวของช่วงเท่ากัน จะทำให้เกิดภาพรวม ที่ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว สลับซับซ้อน
5. ลากเส้นโค้ง และวงกลม
ลากเส้นโค้ง และวงกลม เป็นการฝึกลากเส้นที่ต้องเปลี่ยนแนวการบังคับในการจับเครื่องเขียนที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อให้ได้เส้นขนาน น้ำหนักเส้นคงที่ ไม่ซ้อนทับกัน ลักษณะของเส้น ให้ความรู้สึก อ่อนไหว ลื่นไหล เคลื่อนไหว เมื่อนำไปร่วมกับ เส้นตรงจะให้ความรู้สึกที่ไม่แข็งของภาพ ในควรฝึกลากอยู่เป็นประจำ โดยใช้ทั้งดินสอ และปากกา
6. การลากเส้นรวมผสมผสาน
เป็นการฝึกลากเส้นหลายทิศทาง สลับการใช้ทั้ง เส้นตรง เส้นโค้ง แต่ยังคงรักษา จังหวะ ระยะ ห่างของแต่ละเส้น ให้สม่ำเสมอ ปลายของทุกเส้นลากชนขอบ มีจุดจบของปลายเส้น เป็นการฝึกที่บังคับมือทั้ง ระยะสั้นและ ยาว โดยมีกรอบบังคับอยู่ในตัว ทำให้เกิดความแม่นยำ และสร้างความมั่นใจในการลากเส้นวิธีหนึ่ง ภาพรวมจะให้ความรู้สึกซับซ้อน การประสานมีมิติของการมอง
  
หลักการของแสง และเงา
   การที่มนุษย์มองเห็นสิ่งต่างๆได้เพราะมีแสงสว่าง  ถ้าขาดแสงหรือไปอยู่ในที่ไม่มีแสง  เช่น  ในถ้ำ  ในห้องที่ปิดสนิท  เราก็จะไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น  มีแสง จึงมีเงา  ในการวาดภาพจึงต้องมี  หลักการของแสงเงาเป็นพื้นฐาน  เพื่อให้เกิดความสมจริงของวัตถุนั้น ๆ  ในการถ่ายทอดเป็นรูปภาพในวัตถุแต่ละชิ้น  อาจมีทั้งจุดที่สว่างมาก และ สว่างน้อย  ส่วนเงาคือส่วนที่ไม่ถูกแสง  อาจจะเกิดจากส่วนตื้นลึก หรือถูกบังแสงก็ได้  เพราะทิศทางของแสง จะตรงกันข้ามกับเงาเสมอ  และ มีผลต่อความคมชัดของเงาด้วย
ในการวาดภาพเกี่ยวกับแสงเงา  การฝึกใส่น้ำหนัก  เป็นสิ่งที่ต้องฝึกปฏิบัติเป็นพื้นฐาน  โดยใช้ดินสอ  ระดับ  2B - 4B   ไล่น้ำหนักจากเข้มไปอ่อน   สลับกับอ่อนไปเข้มหรือดำ และ สลับทิศทางของเส้นแต่ก็คงน้ำหนักจากเข้มไปอ่อนหรืออ่อนไปเข้ม
ทิศทางแสงเงาบนวัตถุ
เงาตกทอด
ในการเขียนแสงเงาของวัตถุ ข้อสังเกตเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าส่วนใดที่ถูกแสงมาก เราเกือบไม่ต้องไล่เส้นดินสอเลย  ปล่อยให้เป็นจุดส่วน (Height light) เอาไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนที่นูนของวัตถุ ส่วนที่เป็นพื้นผิวทั่วไปก็ไล่นำหนักของดินสอให้กลมกลืน จะเริ่มเน้นน้ำหนักก็ในส่วนที่เป็นส่วนลึก หรือ เว้าไม่ถูกแสง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุ หรือ พื้นผิวนั้น ๆ ลักษณะของรูปทรงกลม จะเป็นตัวอย่างได้ดี ทั้งในด้านของความกลมกลืนของแสงเงา และฝึกปฏิบัติ
ในการวาดเส้นบางภาพ อาจไม่แสดงแสงเงาที่ชัดเจน  คือ ไม่อิงกับเวลา  เช้า  เที่ยง  บ่าย  ซึ่งต้องแสดงเงาตกทอดตามกาลเวลา ซึ่งอาจเห็นได้จากแสงเงาต้นไม้ อาคาร แต่แสงเงาก็เกิดกับภาพได้  อันเนื่องมาจากวัตถุนั้น ๆ มีตื้นลึก ใกล้ ไกล  เพื่อแสดงมิติขอวัตถุนั้น ๆ  การใช้น้ำหนักอ่อน เข้มของการวาดเส้น  จะให้ความรู้สึกของภาพได้ดีภาพที่ 2.1 ภาพแสงและเงา (1)
(แสดงภาพวาดเส้นด้วยดินสอ แสดงให้เห็นการลงเส้นของน้ำหนักอ่อนเข้มและการเน้นน้ำหนักของภาพ)
ภาพที่ 2.2 ภาพแสงและเงา (2)
(แสดงภาพแสดงให้เห็นถึงน้ำหนักเส้น อ่อนเข้มทำให้ใบหน้าให้ความรู้สึกเหมือนจริง)
ภาพที่ 2.3 ภาพแสงและเงา (3)
(แสดงรายละเอียดที่แสดงสัดส่วน ร่วมกับแสงเงา)
ภาพที่ 2.4 ภาพแสงและเงา (4)
(แสดงภาพวาดเส้นด้วยดินสอ แสดงให้เห็นแสงเงา น้ำหนักอ่อนเข็ม การซ้อนทับของวัตถุ และการจัดภาพ)
  
ภาพที่ 2.5 ภาพแสงและเงา (5)
(แสดงรายระเอียดแสงเงา มือ นิ้วมือ โดยเฉพาะลำขลุ่ยที่เป็นทรงกระบอกกลมยาว)
  ภาพที่ 2.6 ภาพแสงและเงา (6)
(ภาพแสดงให้เห็นแสงเงาของส่วนหน้า จะเห็นได้ว่าจะเน้นเงาในส่วนลึกใต้คางเงาที่ถูกบังใต้จมูก และเบ้าตา)
ภาพที่ 2.7 ภาพแสงและเงา (7)
(ภาพแสดงแสงเงาที่กลมกลืน และเน้นน้ำหนักของดินสออ่อนเข็ม ของใบไม้ให้มีความสับซ้อน)
                             
   การฝึกวาดเส้นให้มีหนักเบา ทุกระดับจะเป็นการช่วยให้การเขียนภาพแสงเงา ในขั้นพื้นฐานได้ดี แต่บางครั้งในการวาดภาพ น้ำหนักอ่อน หรือเบา อาจใช้ระดับความเข้มของ ดินสอดำที่ ระดับ หรือ HB ก็ได้ ในทำนองเดียวกันถ้าต้องการเน้นดำเข้ม ก็อาจเลือกใช้ดินสอ ที่ระดับ 4B-6B หรือ EE ก็ได้ แล้วแต่น้ำหนักของการจัดภาพ

องค์ประกอบของการจัดภาพ
   ในการวาดภาพนอกจากจะใช้ฝีมือทักษะความสามารถวาดออกเป็นรูปร่างได้แล้ว การคิดเพื่อจะให้ได้ภาพดูดี มีความสวยงามก็เป็นสิ่งสำคัญ การคิดไตร่ตรองในการจัดองค์ประกอบจึงเป็นการวางแผนอย่างหนึ่งของการจัดภาพ และให้ความสะดวกในการเริ่มวาด ซึ่งมีหลักการของ       องค์ประกอบอยู่  3  ส่วนด้วยกัน คือ
  1. เนื้อหา  หรือเรื่องราวของภาพที่อยู่ด้านหน้า  ที่เรียกว่า  Foreground   เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ตัวฉากหน้า จะแสดงรายละเอียดพอสมควร แต่รูปแบบอาจไม่ครบถ้วนทั้งหมดก็ได้
  2. เนื้อหา  หรือเรื่องราวของภาพที่อยู่ตำแหน่งกลาง  ซึ่งเป็นส่วนที่ส่วนใหญ่ ต้องการเน้น  หรือที่เรียกว่า   Middle ground   ในส่วนนี้มักจะมีความสมบรูณ์ของรูปร่าง
  3. เนื้อหา หรือภาพที่เป็นฉากหลัง ที่เรียกว่า Background จะเป็นภาพประกอบของ Middle ground และ Foreground ช่วยสร้างบรรยากาศให้ภาพดูดีได้ ภาพไม่เน้นรายระเอียดมาก      มีความสมบรูณ์ของภาพ แต่เล็กตามระยะที่เห็นไกล

ภาพที่ครบองค์ประกอบแยกส่วน Foreground
แยกส่วน Middle groundแยกส่วน Background

ภาพที่ 2.8 ภาพองค์ประกอบภาพ (1)
(แสดงองค์ประกอบภาพและการแยกส่วนขององค์ประกอบ)

โครงสร้างของการจัดองค์ประกอบ
ForegroundBackgroundMiddle groundBackground
ForegroundForeground
ภาพที่ 2.9 ภาพองค์ประกอบภาพ (2)
(แสดงการร่างภาพ และการจัดองค์ประกอบทั้ง ส่วน)
จะเห็นว่าภาพข้างบนนี้มีองค์ประกอบ Foreground, Middle ground และ Background  ภาพนี้เป็นงานวาดเส้นในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม จะเน้น Middle ground และใช้การจัดภาพ ที่มี  Fore ground  ซึ่งมีความสำคัญนำสายตาไปสู่ตัวอาคารที่เป็น Middle ground โดยการจัดองค์ประกอบโปร่ง  เปิดมุมมองให้กลับตัวอาคาร  เป็นฉากหน้าที่นำความสนใจ  สวยงาม  ส่วน Background ที่เป็นฉากหลัง จะเป็นตัวช่วยเน้นภาพให้เด่นขึ้น มีบางส่วนใช้พู่กันระบายดำ ให้ความรู้สึก ลึก ไกลออกไป
ภาพที่ 2.10 ภาพองค์ประกอบแยกส่วน (1)
(แสดงการแยกส่วน การจัดองค์ประกอบเพียง องค์ประกอบ)

ภาพที่ 2.11 ภาพองค์ประกอบแยกส่วน (2)
(แสดงการแยกส่วน ซึ่งบางครั้งในการวาดภาพอาจจะวาดเพียง องค์ประกอบก็ได้)


ภาพที่ 2.12 ภาพองค์ประกอบแยกส่วน (3)
(แสดงการร่างภาพ และการจัดองค์ประกอบครบทั้ง องค์ประกอบ)

ภาพที่ 2.13 ภาพองค์ประกอบแยกส่วน (4)
(แสดงการร่างภาพ และ การจัดองค์ประกอบครบทั้ง องค์ประกอบ)


  รูปแบบของการจัดภาพ

ภาพที่ 2.14 ภาพรูปแบบการจัดภาพ 
(แสดงการร่างเส้นภาพของสิ่งของแต่ละชิ้นก่อนจะช่วยในการจัดองค์ประกอบรวมได้ดี)
ในการฝึกวาดเส้น โดยมีการจัดองค์ประกอบก่อนจะทำให้ได้ภาพที่ข้างต้นมีความ       สวยงาม  บางภาพก็ต้องการเนื้อหาหรือเรื่องราว  อาจต้องจัดให้มีความซับซ้อน  โดยการร่างเส้นไว้ก่อนจะช่วยให้สะดวกในการวาดเส้นจริง
ภาพที่ 2.15 ภาพทักษะฝีมือ
(แสดงภาพวาดเส้นด้วยปากกา มีรูปต่าง ๆ ซ้อนบังกัน เป็นการรวมทั้งทักษะฝีมือ องค์ประกอบของการจัดภาพ และแนวความคิด)
ในการวาดเส้น ถ้าภาพที่ต้องการถ่ายทอด เป็นเรื่องของแสงและเงา เครื่องมือที่ใช้ใน การวาดเส้น ควรเป็นดินสอดำ เพราะช่วยในเรื่องน้ำหนัก อ่อนเข้มได้ดีกว่าเส้นปากกา แต่ถ้าเป็นภาพลายเส้นที่ไม่เน้นแสงเงา แต่ต้องการความชัดเจน มีรายละเอียดขององค์ประกอบภาพซับซ้อน การใช้ปากกา ขนาดเส้นต่าง ๆ ก็จะเป็นการลงเส้นและเหมาะสมกัน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ความต้องการ และจุดประสบการณ์ ของชิ้นงานด้วย
สรุป
ในการฝึกวาดเส้น ควรจะเริ่มจากการบังคับมือให้มีความสัมพันธ์กับสมองที่สั่งการ โดยมีตาเป็นส่วนที่เตือนสติในการลากเส้น ในการฝึกควรลากทั้งเส้น แนวดิ่ง แนวนอน แนวเฉียง และ สลับลากเส้นหลากหลายทิศทาง การฝึกในเรื่องของแสงเงา ควรใช้ดินสอดำ 2B-4B และ กระดาษด้านผิวเรียบ การวาดภาพโดยอาศัยองค์ประกอบ Foreground, Middle ground และ Background จะช่วยในการสร้างภาพที่มีความซับซ้อนได้ดี

การวาดเส้นภาพคน

การเขียนภาพคนหรือมนุษย์ ผู้ที่จะวาดภาพต้องศึกษาในเรื่องของสัดส่วน และโครงสร้างของร่างกายมนุษย์เสียก่อนเพื่อเป็นแนวทางซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่ถูกต้อง เพราะถ้าไม้ถูกต้อง หรือผิดสัดส่วน ก็จะมองหรือรู้ได้ทันทีเพราะเป็นสิ่งใกล้ตัวอยู่แล้ว การเขียนภาพคนมีสิ่งต้องคิดคำนึง อยู่มาก เพราะมีทั้งเพศหญิง เพศชาย และมีอิริยาบถต่าง ๆ เช่น นั่งนอน เดิน ยืนฯลฯ ซึ่งในแต่ละ ท่าทางของการเคลื่อนไหวจะให้ความรู้สึก และสวยงามเหมาะสมต่างกัน
สัดส่วนผู้ชายปกติ เจ็ดส่วนครึ่ง สัดส่วนผู้หญิงปกติ เจ็ดส่วนครึ่ง สัดส่วนสวยงามผู้หญิง แปดส่วน
ภาพที่ 3.1 ภาพเส้นภาพคน (1)
(ภาพแสดงสัดส่วนของคนปกติที่นับส่วนสูงเจ็ดส่วนครึ่งโดยให้ส่วนศีรษะเท่ากัน ส่วน)
สัดส่วนและโครงสร้างของมนุษย์
      การศึกษาหลักเกณฑ์สัดส่วนเบื้องต้น มีความจำเป็นในการวาดเส้นภาพคน และมีความสำคัญอ้างอิงในงานออกแบบด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มุ่งประโยชน์ทางด้านการใช้สอย เพื่อกำหนดขนาดต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้และอำนวยความสะดวก ในการหาระยะสัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จะสรุปโดยเอาค่าเฉลี่ยของคนโดยทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ให้เป็นตัวแทนของคนทั้งหมด (HUMANSCALE)
      การรู้สัดส่วนช่วยให้ 
      1. ช่วยในการวาดภาพคนได้สัดส่วนที่ถูกต้องมีความสวยงาม หรือสร้างสรรค์ได้ตาม จุดประสงค์
      2. เป็นข้อมูลในการออกแบบผลงานต่าง ๆ เพื่อการใช้สอยที่สะดวกสบาย เพื่อความ สวยงามและ แนวความคิดสร้างสรรค์
      3. ช่วยในการสร้างเสริม ปรับปรุง หรือพัฒนาบุคลิกของบุคคล
การกำหนดสัดส่วนของมนุษย์จะถือเอากะโหลกศีรษะมาจรดปลายคางถือเป็น 1 ส่วนเต็ม ร่างกายที่ดูดีได้สัดส่วนของคนเราจะอยู่ 7 ส่วนครึ่ง แต่ก็ยังมีสัดส่วนที่สวยงามกว่าปกติขึ้นไปอีก โดยมีการจัดสัดส่วนของมนุษย์ ได้เป็น 4 ระดับ คือ
      1. สัดส่วนทั่วไป (NORMAL) 7 ครึ่ง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ดูดีอยู่แล้ว
      2. แบบอุดมคติ (DIALISTIC) เท่ากับ 8 ส่วน มีรูปร่างสวยงามขึ้น
      3. ต้นแบบ (FASHION) เท่ากับ 8 1/2 มีรูปร่างสวยงามสง่า ใช้เป็นแบบอย่าง หรือ เดินแบบ
      4. เรือนร่างเทพนิยาย (HERDIC) เท่ากับ 9 ส่วน มีรูปร่างสวยงามสง่า เกินความเป็นจริง
ภาพที่ 3.2 ภาพเส้นภาพคน (2)
(ภาพผู้หญิงที่มีสัดส่วนแบบเทพนิยาย คือ 9 ส่วน เป็นความยาวของช่วงขา ให้สังเกตความยาวของเรือนร่าง ช่วงเอวถึงเท้า จะยาวเกินความเป็นจริง แต่มีความสวยงามมาก)
การเขียนภาพคน
ขั้นตอน            1            2            3            4            5            6            7                        ภาพที่ 3.3 ภาพเส้นภาพคน (3)
(แสดงขั้นตอนการวาดเส้นภาพคนที่มีโครงสร้างอย่างง่าย)
โครงสร้างของคน อย่างง่าย และลักษณะพื้นฐานจะเห็นว่าใช้เส้นในการวาดเพียง เส้นเท่านั้น เส้นแรกแนวตั้ง เป็นลำตัว เส้นที่ 2-3 ก็จะเป็นส่วนขา และ 4-5 ก็จะเป็นแขน ถ้าจะแสดงเพศหญิง หรือชาย ก็เติมเป็นส่วนหัว หรือ ทรงผม
ดังนั้นในการฝึกวาดในระยะแรก จะเป็นโครงสร้างที่เป็นเส้นตรงในแต่ละส่วนอย่างง่าย เพียง  5  เส้น  คือ  เส้นตรงของลำตัว เส้นตรงของขาซ้าย  ขาขวา  เส้นตรงแขนซ้าย  และแขนขวา
ภาพที่ 3.4 ภาพเส้นภาพคน (4)
(แสดงภาพคนที่มีโครงสร้างอย่างง่ายในลักษณะท่าทางต่าง ๆ)
การวาดโครงสร้างที่ใช้เพียง เส้น จะเป็นขั้นเริ่มต้น ภาพที่ได้อาจจะให้ความรู้สึกแข็งทื่อตามสภาพของเส้นตรงและจำกัดจำนวนของเส้น แต่ถ้าฝึกไปสักระยะหนึ่งแล้วเพิ่มรายละเอียดขึ้น ในส่วนส่วนแขนและขา จากเส้นตรงก็จะเริ่มหักเส้น ในส่วนของลำแขนทั้งซ้าย-ขวา ช่วงข้อศอก และ ในส่วนของลำขาทั้งซ้าย-ขวา ช่วงหัวเข่า  ซึ่งทำให้เกิดโครงสร้างที่มีท่าทางขึ้น การงอของ ข้อศอก และ หัวเข่า จะต้องไปในทิศทางที่เป็นไปได้ของการขยับ และ การงอของมนุษย์  ภาพหรือท่าทางต่างๆ ก็จะเป็นไปตามธรรมชาติ และ มีความสวยงามตามอิริยาบถนั้น ๆ
การแต่งเติมความหนาของเส้นในบางส่วนจะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ภาพมีมิติขึ้น มีความสวยงามขึ้น แต่ต้องเลือกในส่วนที่เป็นไปได้ใกล้เคียงกับ สัดส่วนของมนุษย์ เช่น ในส่วนของลำตัว กล้ามเนื้อของน่อง เท้า มือ เป็นต้น
การวาดเส้นโครงสร้างของคนที่มีความกว้างของร่างกาย โดยเพิ่มเส้นตรงอีก เป็น เส้น  คือ ส่วนเส้นตรง ที่เป็นช่วงไหล่ และ ตะโพก
ภาพที่ 3.5 ภาพเส้นภาพคน (5)
(แสดงขั้นตอนการวาดเส้นภาพคนที่มี โครงสร้างช่วง ไหล่ และตะโพกเพิ่มขึ้น)
เมื่อวาดได้ภาพที่เป็นโครงสร้างคนในลักษณะเส้น การตกแต่ง เพิ่มเติม ในส่วนของ ศีรษะ มือ เท้า ก็สามารถทำต่อได้รวมทั้งการใส่เรื่องราว กิจกรรมต่างๆ ให้กับรูปร่างนั้นๆ
ภาพที่ 3.6 ภาพเส้นภาพคน (6)
(แสดงภาพคนที่มีโครงสร้างช่วง ไหล่ ตะโพก ศีรษะ มือ เท้า เพิ่มขึ้น และวาดเส้นเรื่องราว กิจกรรมต่าง ๆ ให้กับรูปร่างนั้น ๆ เช่น เล่นคนตรี เล่นกีฬา นั่ง ฯลฯ) การวาดเส้นโครงสร้างของคนที่มีความ กว้างของร่างกาย และ เพิ่มความหนาให้กับ ลำตัว แขน ขา โดยการลากเส้นคู่ขนาดกับเส้นโครงสร้างเดิม
ภาพที่ 3.7 ภาพเส้นภาพคน (7)
(แสดงโครงสร้าง ภาพคนจากการวาดเส้น และเพิ่มเติมจนได้ลักษณะที่มีมิติสัดส่วนของคนที่ใกล้เคียง หรือมีความสมบูรณ์ ในการถ่ายทอดรูปแบบของคนทั้งเพศหญิง และเพศชาย)
จะเห็นได้ว่า การเขียนท่าทางต่าง ๆ ของคนไม่ได้เป็นสิ่งยาก ถ้ายึดการวาดให้ได้สัดส่วนเป็นเส้นง่าย ๆ เสียก่อน โดยที่ทุกส่วนจะเป็นไปตามธรรมชาติอยู่แล้ว ได้แก่ ส่วนงอของข้อศอกในส่วนแขน หัวเข่า ในส่วนของ ขา และยกแขน ก็อยู่ที่ตำแหน่งของไหล่ ยกขาก็อยู่ตรงเส้น ส่วนตะโพก หรือโคนขา
การเขียนรูปใบหน้าหลักเบื้องต้น คนเราจะมีความสมดุลแบบซ้ายขวา คือ ทั้งซ้ายกับขวาจะมีขนาดลักษณะเหมือนกัน ดังนั้นการร่างภาพร่างเส้นเบาก่อนจะเป็นส่วนซ้ายให้การวาดรูป ใบหน้าได้สัดส่วนและเหมือน โดยมีเส้นแบ่งกลาง แบ่งเส้นระดับตำแหน่ง ตา จมูก ปาก ส่วนที่จะต้องได้มีลักษณะขนาดเท่ากันมากก็เป็นส่วนของดวงตากับหูในกรณีภาพหันหน้าตรง การวาดจากร่างเบา แล้วลงเส้นหนักจริง อาจเป็นการฝึกในระยะแรก เมื่อมีความแม่นยำก็อาจไม่ต้องร่างก็ได้
ภาพที่ 3.8 ภาพเส้นภาพคน (8)
(แสดงขั้นตอนในการวาดเส้น ใบหน้าคนเพศชาย ทั้งซ้าย และขวา โดยเริ่มจากวงกมลและเส้นโครงร่าง ในส่วนเส้นแบ่งหน้า ตา จมูก ปาก คาง คอ แล้วลงเส้นรูปหน้า)
ภาพที่ 3.9 ภาพเส้นภาพคน (9)
(แสดงขั้นตอนในการวาดเส้น ใบหน้าผู้หญิง ทั้งซ้าย และขวา โดยเริ่มจากรูปวงกลมและเส้นโครงร่าง ในส่วนเส้นแบ่งหน้า ตา จมูก ปาก คาง คอ แล้วลงเส้นรูปหน้า เส้นผม)
การฝึกอาจเริ่มจากภาพนั่งปกติ ด้านข้าง ด้านหน้าหน้าตรง แล้วค่อยเอียงหน้าก้ม และอาจใส่ลีลาอารมณ์ต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีความชำนาญขึ้น การจะเขียนวาดให้มีมุมมองต่าง ๆ อย่างไร ก็ตาม การยึด คือ เส้นดิ่งกลางหน้าและระดับตา จมูก ปาก เป็นเส้นร่างหลักที่จะเป็นสัดส่วนกำหนดให้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 3.10 ภาพเส้นภาพคน (10)
(แสดงขั้นตอนในการวาดเส้นภาพคนเต็มตัว โดยเริ่มจากเส้นโครงร่าง แล้วเพิ่มส่วนหนาของลำตัวหน้าเริ่มจากรูปวงกลม)
การวาดภาพคนทั้งตัว โดยนำส่วนของลำตัวจากโครงเส้น พร้อมกับกำหนดท่าทาง แล้วเพิ่มความหนาของลำตัว ส่วนของใบหน้า ก็เริ่มจากโครงสร้างของวงกลม แบ่งส่วน ตา จมูก ปาก และรายระเอียดของเครื่องแต่งกาย การฝึกเขียนภาพคนทั้งตัว โดยเฉพาะที่แสดงท่าทางต่างๆ สิ่งที่ควรระวัง คือเรื่องของ สัดส่วน จะต้องได้ภาพที่ดูเป็นลักษณะของคนปกติ สมบูรณ์ เพราะภาพคนเป็นสิ่งใกล้ตัว จึงง่ายแก่การตรวจสอบ ถ้ามีการผิดเพี้ยน
ภาพที่ 3.11 ภาพเส้นภาพคน (11)
(แสดงโครงร่างขั้นตอนในการวาดเส้น ภาพคนทั้งเต็มตัว และครึ่งท่อน)
ภาพวาดเส้นภาพคนจะฝึกจากโครงเส้นอย่างง่าย และ มามีสัดส่วน คือ ส่วนหนาของลำตัว ลำแขน-ขาตามลำดับหรืออาจจะพูดในอีกแง่หนึ่งว่าจากโครงกระดูกก็มาใส่เนื้อหนัง หรือเสื้อผ้าให้ เมื่อได้ภาพที่สมบูรณ์ ก็จะเป็นขั้นตอนที่วาดภาพของคนที่ร่วมกลุ่ม จัดเป็นองค์ประกอบของภาพ เพื่อการออกแบบ หรือ เพื่อการโฆษณา ภาพวาดเส้นลักษณ์นี้ ต้องให้ความรู้สึกขององค์ประกอบรวม มีการซ้อน หรือบังภาพคน เพื่อให้ลีลาท่าทางที่น่าสนใจ ชวนมองนอกเหนือจากความถูกต้อง สวยงามของโครงร่าง ซึ่งอาจเป็นการนำท่าทางหลายลักษณะมารวมกัน
ภาพที่ 3.12 ภาพเส้นภาพคน (12)
(แสดงภาพคนที่วาดรวมกลุ่ม และจัดองค์ประกอบ ซึ่งมีทั้งการซ้อนภาพ และเน้นน้ำหนักสีเข้มโดยใช้รูปร่างของกลุ่มคนเช่นกัน)
ภาพคนตามความจริงเป็นส่วนที่ใกล้ตัวที่สุด แต่ก็ไม่ง่ายที่จะวาดได้ดี และสมบรูณ์ที่สุด เพราะมีหลายรูปแบบ เช่น เด็กวัยรุ่น ผู้หญิง ผู้ชาย คนพิการ คนแก่ และทั้งหมดนี้ยังแสดงอิริยาบถต่างๆ อีกด้วย นับตั้งแต่ นอน นั่ง เดินกระโดด วิ่ง คลาน ซึ่งมีรูปแบบที่ต้องสอบได้ว่าถ่ายทอดได้ถูกต้องหรือเปล่า ที่กล่าวมานั้นยังไม่ได้รวมที่จะต้องวาดแล้วแสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ต่าง ๆ ได้อีก เช่น มีท่าทางโศกเศร้า ดีใจ หัวเราะ ร้องไห้ ร่าเริง ฉงน ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามการถ่ายทอกภาพคน ก็จะเลือกวาดตามที่จะนำไปใช้งานตามจุดประสงค์นั้น ๆ
ภาพที่ 3.13 ภาพเส้นภาพคนถ่ายทอดให้เห็น หญิงชราทำงานในชนบท
ที่มา (Mochizuki, 1984, pp. 283)
ภาพที่ 3.14 ภาพเส้นภาพคนถ่ายทอดให้เห็นถึงอารมณ์ของชายชรา
ที่มา (Mochizuki, 1984, pp. 283)
ภาพที่ 3.15 ภาพเส้นภาพคน ที่ถ่ายทอดถึงอาการหัวเราะได้ชัดเจน
ที่มา (Mochizuki, 1984, pp. 181)
ภาพที่ 3.16 ภาพเส้นภาพคน ที่ถ่ายทอดให้ความรู้สึกร่าเริง
ที่มา (Mochizuki, 1984, pp. 181)
ภาพที่ 3.17 ภาพเส้นภาพคนที่ใช้มือ ตา ประกอบให้ความรู้สึกทางอารมณ์อีกรูปแบบหนึ่ง
ที่มา (ปรัชญา อาภรณ์, 2540, หน้า 27)
ในการวาดภาพคนโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. ภาพคนครึ่งท่อน (Portrait) เป็นการแสดงรายละเอียด ที่ต้องการความเหมือน มีความถูกต้อง ครบถ้วนโดยเฉพาะ แสงเงา ส่วนใหญ่จะเป็นภาพหุ่นนิ่งไม่มีอาการเคลื่อนไหว
ภาพที่ 3.18 ภาพวาดครึ่งท่อน
ที่มา (Wyeth, Andrew, 1987, pp.68)
2. ภาพเต็มตัว (Figure) เป็นภาพที่วาดให้เห็นความครบถ้วนสมบูรณ์ สัดส่วนถูกต้อง และ มีการจัดท่าทางทีสง่างามในภาพเต็มตัวที่มีทั้งหุ่นนิ่งและเคลื่อนไหว
ภาพที่ 3.19 ภาพวาดเต็มตัว ของ เลโอนาร์โด ดา วินชี (เป็นตัวอย่างหนึ่งของสัดส่วน)
ที่มา (เจษฎา ทองรุ่งโรจน์, 2549, หน้า 026)
การวาดเส้นภาพคนประกอบในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน จะไม่เน้นรายละเอียดของใบหน้า หรือ กล้ามเนื้อมากนักซึ่งพอจะสรุปลักษณะได้ดังนี้
1. ลักษณะของเส้นเรียบง่ายไม่ซับซ้อน 
2. เน้นสัดส่วนถูกต้องและสามารถเปรียบเทียบกับสัดส่วนสิ่งที่อยู่รอบตัวได้
3. ไม่เน้นรายละเอียดของใบหน้ามากนัก วาดแต่เค้าโครง แสดงเพศ และวัย
4. ลักษณะท่าทางจะวาดให้มีความเคลื่อนไหวหรือมีอิริยาบถที่เข้าใจได้ 
5. มักจะเป็นภาพเห็นทั้งตัวและแต่งตัวบอกบุคลิกเด่นชัด 
6. สัดส่วนที่ใช้เขียนจะมีความสวยสง่า หรือใช้สัดส่วนแปด แปดครึ่ง ถึงเก้า
รูปแบบภาพคนประกอบในงานออกแบบ
รูปแบบภาพคนประกอบในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน ดังนี้
ภาพที่ 3.20 ภาพคนประกอบในงานออกแบบ (1)
(แสดงภาพวาดเส้นผู้หญิงที่เป็นภาพประกอบในงานเขียนทางสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน
ภาพที่ 3.21 ภาพคนประกอบในงานออกแบบ (2)
(แสดงภาพวาดเส้นโครงสร้างอย่างง่ายกลุ่มคนที่เป็นภาพประกอบในงานเขียนทางสถาปัตยกรรม)
ภาพที่ 3.22 ภาพคนประกอบในงานออกแบบ (3)
(แสดงภาพวาดเส้นผู้หญิงที่เป็นภาพประกอบในงานเขียนทางตกแต่งภายใน)
การวาดภาพคนที่เป็นส่วนประกอบงานออกแบบด้านสถาปัตยกรรม และตกแต่งภายใน อาจจะไม่ต้องวาดรายละเอียดมากนัก แต่ต้องวาดให้ได้เค้าโครงของ ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก และท่าทาง อิริยาบถต่างๆได้ เช่นกำลังเดิน นั่ง ในบางภาพอาจจะมีการวาดตกแต่งเครื่องใช้ทั่วไปที่เข้าใจง่ายประกอบโดยมีความสอดคล้องกับงานออกแบบนั้น ๆ ด้วย เช่น กระเป๋า กล้องถ่ายรูป ซึ่งจะทำให้ภาพสมบูรณ์ สวยงาม
สรุป
การเขียนภาพคนต้องเริ่มจากโครงสร้างที่เป็นเส้นอย่างง่าย โดยศึกษาและสังเกตจากสัดส่วนของคนเราที่เป็นสิ่งอยู่ใกล้ตัวอยู่แล้ว จากโครงสร้างที่เป็นเส้นก็จะค่อยเพิ่มส่วนต่าง ๆ ทีทำให้เกิดมิติของร่างกาย เช่น ความกว้าง ลำตัว ลำแขน ขา รายละเอียดที่จะเพิ่มเติมส่วนที่สำคัญ ได้แก่ การเขียนรูปใบหน้า ซึ่งทั้งหญิงและชายก็จะใช้รูปวงกลมเป็นหลักในการร่างภาพ แต่ลักษณะของภาพคนแม้นจะเป็นสิ่งใกล้ตัว แต่ก็มีความยากง่าย ถ้าจะถ่ายทอดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะคนเรามีทั้งเด็กทารก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ คนชรา คนพิการ และยังแสดงกิจกรรมต่างๆ เล่นดนตรี กีฬา ตลอดจนแสดงออกทางอารมณ์ เช่น โกรธ ร่าเริง เศร้า อาย ฉงน ปวดเร้า ซาบซึ้ง ฯลฯ นอกจากจะฝึกในทางด้านทักษะฝีมือแล้วการฝึกสังเกตกริยาท่าทางของคนทั่วไป เป็นแนวทางในการวาดภาพได้สมบรูณ์ ในการเขียนภาพบางครั้งก็ไม่ได้เน้นรายละเอียดทั้งหมด จะวาดให้ถูกต้องทางด้านสัดส่วนเพื่อใช้เพียงภาพประกอบให้ดูดี เช่น ในงานทัศนียภาพตกแต่งภายในหรือทางสถาปัตยกรรม

การวาดเส้นในงานออกแบบทัศนียภาพ

หลักการของภาพทัศนียภาพ เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกเป็น 3 มิติ คือ มีลักษณะของความเหมือนใกล้เคียงกับภาพที่คนเราเห็นภาพต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ถ้าไปยืนอยู่กลางถนน แล้วมองไปไกลข้างหน้า เราจะเห็นถนนจะค่อยเล็กลง เสาไฟฟ้าก็สั้นเล็กลง ถ้ามีต้นไม้เป็นทิวข้างทางก็จะ เตี้ยลง แล้วก็จะวิ่งไปรวมกันที่จุดสุดสายตา หรือถ้าใครอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟก็จะเห็นได้ชัดเจน รางรถไฟจะไปรวมกันที่จุดจุดเดียว ไม้หมอนที่นอนขวางรับรางเหล็กก็จะสั้นเข้า และรวมกันที่ จุดรวมสายตา ซึ่งพอจะสรุปลักษณะของภาพ PERSPECTIVE ได้ดังนี้
1. วัตถุ หรือสิ่งของที่มีขนาดเท่ากันเมื่อยู่ไกลตัวออกไปจะมีขนาดเล็กลง
2. ระยะที่เท่ากันเมื่ออยู่ไกลตัวออกไปจะมีระยะที่ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ จนรวมเป็นจุดเดียวกัน3. เส้น หรือสิ่งของที่คู่ขนานกันเมื่อไกลออกไปจะพุ่งเข้าหากัน4. วัตถุ หรือสิ่งของต่าง ๆ เมื่ออยู่ไกลตัวออกไป จะมีรายละเอียดและความชัดเจนลดลงไปตามลำดับ
ภาพที่ 4.1 ภาพจุดรวมสายตา
(แสดงให้เห็นถึงการไปรวมของจุดรวมสายตา ถ้าไปยืนอยู่กลางรางรถไฟมองไกลออกไป เส้นของรางรถไฟที่ขนานกันจะเล็กลงและไปรวมอยู่เป็นจุดเดียว)
ภาพที่ 4.2 ภาพเส้นระดับสายตา
(แสดงโครงสร้างของภาพที่ประกอบด้วยเส้นระดับสายตา (Horizon Line) และจุดรวมสายตา (Vanishing point))
ภาพที่ 4.3 ภาพตำแหน่งการมองด้านข้าง
(แสดงให้เห็นตำแหน่งการมองด้านข้างของรางรถไฟ จะเห็นว่าในความเป็นจริงของทุกอย่างที่มีขนาดเท่ากันก็จะไปรวมอยู่จุดเดียวกัน)
ภาพที่ 4.4 ภาพเส้นตำแหน่งที่ไม่ใช่อยู่ตำแหน่งกลาง
(แสดงโครงสร้างของการมองของภาพในตำแหน่งที่ไม่ใช่อยู่ตำแหน่งกลางของภาพที่มอง)
หลักการของการวาดภาพ PERSPECTIVE
หลักการพื้นฐานของภาพ PERSPECTIVE จะประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ส่วนที่สำคัญ ที่กำหนดในการลากเส้น คือ
1.เส้นระดับสายตา หรือที่เรียกว่า Horizon Line ใช้ตัวย่อ HL เป็นเส้นระดับแนวนอน หรือแนวระดับน้ำ จะขึ้น-ลง สูง-ต่ำ อยู่ในระดับสายตา ซึ่งจะเป็นเส้นที่สำคัญในการกำหนดของการมองวัตถุหรือ สิ่งก่อสร้างทั้งหมด
2.จุดรวมสายตาหรือเรียกว่า Vanishing point ใช้ตัวย่อ VP จะเป็นจุดรวมสายตาที่อยู่ในเส้นระดับสายตา เป็นตำแหน่งที่ลากเส้นสิ่งของต่างๆ ไปรวมกัน มีตั้งแต่ 1 จุดขึ้นไป แล้วแต่ตำแหน่งของวัตถุที่จัดวาง หรือ ต้องการวาดให้มีความหลากหลายซับซ้อน
ภาพที่ 4.5 ภาพเส้นที่มีจุดรวมสายตา 1 จุด
(แสดงภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 1 จุด)
ภาพที่ 4.6 ภาพเส้นที่มีจุดรวมสายตา 2 จุด
(แสดงภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 2 จุด)
ภาพที่ 4.7 ภาพเส้นที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด
(แสดงภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด อยู่ในลักษณะของการมองจากล่างขึ้นบน)
ภาพที่ 4.8 ภาพเส้นที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด ลักษณะของการมองจากบนลงล่าง
(แสดงภาพPERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด อยู่ในลักษณะของการมองจากบนลงล่าง)
ภาพ PERSPECTIVE ที่มีจุดรวมสายตา 3 จุด จะให้ความรู้สึกของสิ่งก่อสร้าง สูงชะรูด หรือ ต่ำลึก ลงไป ใช้กับงานเขียนภาพในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นส่วนใหญ่ จุดรวมสายตาที่ 3 ตำแหน่งจะอยู่ในแกนของแนวดิ่ง จะต่ำ หรือ สูงกว่าเส้นระดับสายตาก็ได้
ภาพที่ 4.9 ภาพมองตัวอาคารในระดับสายตา เป็นมุมมองที่ปกติทั่วไป
ที่มา (Grice, 1993, pp. 16)
ภาพที่ 4.10 ภาพมอง 1 จุด ที่มองตัวอาคารในระดับสายตา เป็นมุมมองที่ปกติทั่วไป
ที่มา (Grice, 1993, pp. 98)
ภาพที่ 4.11 ภาพที่อยู่ในระดับสายตา VP 1 จุด
(แสดงโครงสร้างมุมมองของภาพ PERSPECTIVE ที่อยู่ในระดับสายตา VP 1 จุด)
ภาพที่ 4.12 ภาพมุมมอง Bird eyes view คือ มองจากที่สูงลงที่ต่ำคล้ายกับนกบินแล้วมองลงมาเห็นครอบคลุมตัวอาคารทั้งหมด
ที่มา (Grice, 1993, pp.115)
ภาพที่ 4.13 ภาพ VP 2 จุด ที่มองจากที่สูงลงที่ต่ำ
(แสดงโครงสร้างมุมมองของภาพ PERSPECTIVE VP 2 จุด ที่มองจากที่สูงลงที่ต่ำ)
ภาพที่ 4.14 ภาพอาคารสูงในลักษณะของการมองแหงนขึ้น เรียกว่า WORM S EYES VIEW
ที่มา (Grice, 1993, pp.17)
ภาพที่ 4.15 ภาพ VP 2 จุด ที่มองสูงขึ้นไป
(แสดงโครงสร้างและมุมมองของภาพ PERSPECTIVE VP 2 จุด ที่มองสูงขึ้นไป)
การวาดเส้นให้มุมมองของอาคารโดดเด่น สูงสง่า ก็ใช้มุมมองจากล่างขึ้นบน คือ Worm Eyes View เพราะจะได้ภาพสิ่งก่อสร้างที่ดึงดูดความสนใจได้ดี และ ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่คนยืนแหงนหน้ามองตึกสูงเมื่อสร้างเสร็จแล้ว
การเขียนภาพ PERSPECTIVE ในงานตกแต่งภายใน
งานตกแต่งภายใน การกำหนดตำแหน่งจุดรวมสายตามีความสำคัญ ที่ช่วยกำหนดมุมมองในการวาดภาพ PERSPECTIVE การร่างเค้าโครงของภาพ โดยการเลือกจุดรวมสายตา จึงต้องทำความเข้าใจให้ได้ทุกมุมมอง เพื่อว่าจะได้ภาพที่ต้องการแสดงถึงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย และ งานตกแต่งได้ครอบคลุม มีมุมมองที่สวยงามดึงดูดความสนใจ
การจัดมุมมองของการตกแต่งภายใน จะมีตัวเลือกมาก และ มีความแตกต่างในการจัดภาพซึ่งมีผลในการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ การทำความเข้าใจโครงสร้างเพื่อการร่างภาพจึงมีความสำคัญ ในการถ่ายทอดว่าจะให้ผู้ดู เข้าใจ หรือ รับรู้ คล้อยตามตามแนวความคิดสร้างสรรค์ได้มากน้อยเพียงใด
โครงสร้างในการจัดภาพ PERSPECTIVE
การถ่ายทอดภาพ PERSPECTIVE ในงานตกแต่งภายใน ก็เป็นการสร้างภาพเหมือนจริงขึ้นมาดูก่อนให้เห็นการจัดวาง ความสวยงามของการตกแต่ง ดังนั้นจึงต้องมีของเขต หรือกรอบในการทำงานซึ่งจะเป็นพื้นที่ของแผ่นกระดาษซึ่งเป็นตัวจำกัดมุมมอง ดังนั้นการมองในกรอบ โดยมี จุดรวมสายตา เป็นจุดกำหนดก็จะทำให้ทราบพื้นที่มาก หรือน้อยของแต่ละด้านได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีด้วยกัน 5 ด้าน ใหญ่ด้วยกัน คือ
1. ด้านหน้า เป็นผนังห้องด้านหน้า หรือเป็นพื้นหลัง
2. ด้านข้างซ้าย ซึ่ง อาจเป็นผนังห้องด้านซ้ายมือ
3. ด้านข้างขวา ซึ่งอาจเป็นผนังห้องด้านขวามือ
4. ด้านบน ซึ่งอาจเป็นเพดานของห้อง
5. ด้านล่าง ซึ่งอาจเป็นพื้นของห้อง
รูปแบบต่าง ๆ ของมุมมอง โดยกำหนดจากกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นโครงสร้างของภาพ
ภาพที่ 4.16 ภาพมุมมองจุดรวมสายตา หรือการมอง ที่ระดับสายตาอยู่จุดกึ่งกลางของห้อง
(แสดงการจัดภาพที่จุดรวมสายตา หรือ การมอง ที่ระดับสายตาอยู่จุดกึ่งกลางของห้องจะเห็น ผนังซ้าย ขวา เพดาน และ พื้น มีพื้นที่เท่ากัน ในการถ่ายทอด)
ภาพที่ 4.17 ภาพมุมมองที่จุดรวมสายตาอยู่ชิดกรอบภาพด้านบน
(แสดงการจัดภาพที่จุดรวมสายตาอยู่ชิดกรอบภาพด้านบน ดังนั้นการเห็นพื้นที่เพดานจะน้อยพื้นที่ผนังซ้าย-ขวา เท่ากัน ส่วนพื้นที่พื้นจะเห็นมาก โครงสร้างลักษณะนี้เหมาะสำหรับการถ่ายทอดให้เห็นการจัดวางในลักษณะที่สูงมองลงที่ต่ำครอบคลุมเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้มาก)
ภาพที่ 4.18 ภาพมุมมองที่จุดรวมสายตาอยู่ชิดกรอบภาพด้านล่าง
(แสดงการจัดภาพที่จุดรวมสายตาอยู่ชิดกรอบภาพด้านล่าง ลักษณะภาพจะเห็นส่วนบนหรือเพดานได้มาก เหมาะแก่การวาดภาพในลักษณะการตกแต่งส่วนของเพดาน)
การวาดเส้นในงานเอกลักษณ์ไทย
งานวาดเส้น ลายไทย และจิตกรรมไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่มีความเด่นชัด ทางศิลปะสืบทอดมายาวนานอย่างมีที่มาของการสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดจากสังเกตความเป็นไปต่าง ๆ ทางธรรมชาติ แล้วถ่ายทอดเป็นงานวาดเส้นที่ ลงตัว สวยงาม นำมาใช้ตกแต่งทั้งงาน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมและงานประดับในพิธีการต่าง ๆ ซึ่งโดยความรู้สึก ลายไทย จะเป็นลวดลายที่เป็นมงคล เป็นของสูง เพราะส่วนใหญ่จะเห็น ประดับ ตกแต่งอยู่ในวัด และพระราชวัง ซึ่งเป็น สิ่งที่ชาวไทยให้ความเคารพ ศรัทธา และเป็นที่ยกย่องว่าสวยงาม และมีคุณค่า
การได้นำมาศึกษา และ ฝึกปฏิบัติวาดเส้นนับเป็นสิ่งที่ดี นอกจากนำมาประยุกต์ใช้งาน เกิดผลงานทางด้านการออกแบบสร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ แล้วยังเป็นการดำรงคุณค่าทางศิลป วัฒนธรรมของไทยให้ปรากฏแก่ผู้พบเห็นทั้งชาวไทยด้วยกัน และชาวต่างชาติในการศึกษาการวาดเส้นในงานเอกลักษณ์ไทย จะแยกเป็นสองรูปแบบใหญ่ ๆ คือ ลายไทย และจิตรกรรมไทย
ลายไทย
ในการศึกษา และฝึกวาดเส้น จะแยกออกเป็นส่วนๆ เสียก่อน ซึ่งแต่ละส่วนหรือแต่ละลายจะมีโครงสร้างต่างกัน แล้วจึงนำมาต่อช่อลายภาพหลัง ลายที่เป็นหลักสำคัญ มีดังต่อไปนี้
1. ลายกนก
ภาพที่ 5.1 ภาพลายกนก (1)
(แสดงภาพลายกนกหลายรูปแบบ บางครั้งเรียกภาพลายกนกนี้ว่า ลายกนกสามตัว)
ภาพที่ 5.2 ภาพลายกนก (2)
(แสดงโครงสร้างขั้นตอนของการวาดเส้นลายกนกในโครงสี่เหลี่ยอผืนผ้าแนวตั้ง 2 ต่อ 4)
ภาพที่ 5.3 ภาพลายกนก (3)
(แสดงโครงสร้างการวาดเส้นลายกนก และเพิ่มเติมรายละเอียดของลาย)
ศัพท์ตัวเดิมแปลว่าทองคำ ถือว่าเป็น แม่ลายของการเขียนลายไทย แบ่งได้เป็น 3 ตัว ในโครงสี่เหลี่ยอผืนผ้าแนวตั้ง 2 ต่อ 4 หรือสามเหลี่ยมปลายแหลม เรามักจะเรียกลายแม่แบบนี้ว่า ลายกนกสามตัว และในลายกนกสามตัวนี้ก็ยังมีหลายรูปแบบอีกได้แก่ กนกเปลว ลักษณะของ ตัวลายอ่อนไหวแบบเปลวไฟ กนกผักกูดตัวลายเป็นขดม้วนตัว กนกก้านกดตัวก้านลายเป็นขดม้วนตัว เป็นต้น โครงสร้างการวาดเส้นลายกนกสามตัว
2. ลายกระจัง
ภาพที่ 5.4 ภาพลายกระจัง
(แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลาย และรูปแบบต่าง ๆ)
โครงสร้างของลายอยู่ในสามเหลี่ยมด้านเท่า มีลักษณะคล้ายกลีบของดอกบัวหรือตาอ้อย ด้านข้างจะแยกปลายแหลมเหมือนถูกบาก ลายนี้จะใช้ประดับตามขอบ เช่น ขอบของธรรมสาสน์ หรือขอบบนของลายหน้ากระดาน ลายกระจังจะมีอยู่หลายรูปแบบเช่น กระจังรวน กระจังปฏิญาณ กระจังใบเทศ กระจังหลังสิงห์ กระจังหู เป็นต้น
3. ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
ภาพที่ 5.5 ภาพลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
(แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และรูปแบบต่าง ๆ)
4. ลายประจำยาม
ภาพที่ 5.6 ภาพลายประจำยาม
(แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลาย และรูปแบบต่าง ๆ)
โครงสร้างของลายจะอยู่ในสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลักษณะคล้ายดอกไม้สี่กลีบ มีการใช้ประดับตกแต่งมาตั้งแต่สมัยทราวดี การนำมาใช้วาดเส้นเป็นทั้งจัดเรียงต่อเนื่องกัน หรือเป็นลายดอกลอย ก็ได้ หรือวาดเส้นลายประจำยาม ในลักษณะดอกเด่นในกลุ่มลายประกอบ
5. ลายกาบ
ภาพที่ 5.7 ภาพลายกาบ (1)
(แสดงเส้นลายกาบที่มีลักษณะโครงสูงใช้ตกแต่งมุมฐานเสาในรูปแบบต่าง ๆ)
ภาพที่ 5.8 ภาพลายกาบที่ใช้ตกแต่งมุมฐานเสา
(สำนักราชเลขาธิการ, 2531, หน้า 429)
เป็นลายทรงสูงมีความสวยที่สง่างาม ใช้ตกแต่งหรือห่อหุ้มตกแต่งตามโคนเสา หรือ มุมเหลี่ยมต่าง ๆ ในงานทางสถาปัตยกรรม มีลักษณะคล้ายกับอ้อย ไผ่ ในการนำมาใช้จะเป็น ตัวแตกช่อลายออกไป รูปแบบในการเขียนลายกาบ
6. ลายนกคาบและนาคขบ
ภาพที่ 5.9 ภาพลายนกคาบ
(แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลายนกคาบ และรูปแบบต่าง ๆ)
มีลักษณะเป็นหน้าของนกหน้านาคที่เอาปากคาบลายตัวอื่นเอาไว้หรือมีลายช่ออื่น ๆ ออกทางปาก ตำแหน่งของลายนกคาบจะอยู่ตรงข้อต่อที่จะเชื่อมก้านกันและกัน เช่น ลายตู้พระธรรมวัดเชิงหวาย รูปแบบของลายนกคาบ และนาคขบ
ภาพที่ 5.10 ภาพลายนกคาบ และนาคขบ
(แสดงลายนกคาบ นาคขบ การแตกช่อลาย และรูปแบบต่าง ๆ)
นอกจากส่วนต่าง ๆ ของส่วนลายที่สำคัญในการวาดเส้นลายไทยก็ยังประกอบด้วยลายช่อ ลายหน้ากระดาน ลายก้านต่อ ลายเถา ฯลฯ ซึ่งเกิดจากมีความเชี่ยวชาญในการวาดลายย่อยแล้วมาผูกรวมกันได้อย่างสวยงาม และนำไปประดับในส่วนต่าง ๆ ทั้งงานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และตกแต่งเฉพาะงาน
ในการวาดเส้นลายไทย การผูกลาย หรือการเอาลายไทยในหลายส่วนมาวาดรวมกันเป็นแนวทางที่ทำกันมาตลอด ดังนั้นผู้วาดเส้นในการผูกลายจะต้องรอบรู้ในการเขียนลายหรือเรียกว่า ช่อลายต่าง ๆ อย่างเชี่ยวชาญจึงจะได้ภาพลายไทยได้จังหวะที่สวยงามตามกรอบของภาพที่กำหนด
ภาพที่ 5.11 ภาพช่อลายลายไทยที่มีลายนกคาบ นาคขบ ที่กลมกลืนในการจัดภาพ
ที่มา (น.ณ ปากน้ำ, 2515 หน้า 10)
จิตรกรรมไทย
ลักษณะ และรูปแบบของจิตรกรรมไทยในอดีตที่ผ่านมานิยมเขียนตามผนังภายใน พระอุโบสถ พระวิหาร พระระเบียง เรื่องราวที่เขียนก็จะเกี่ยวกับ พุทธประวัติ ชาดก รามเกียรติ์ การเขียนจิตรกรรมฝาผนังของไทยจะมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนชาติใด ๆ ซึ่งมีรูปแบบ ในลักษณะที่แบนราบ ไม่มีรูปแบบของการถ่ายทอดในลักษณะของ ภาพ PERSPECTIVE
ภาพที่ 5.12 ภาพพุทธประวัติ ตอน เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ
ที่มา (ทอม เชื้อวิวัฒน์, ม.ป.ป., หน้า 11 )
ภาพที่ 5.13 ภาพพุทธประวัติ ตอน เจ้าชายสิทธัตถะปลงพระเกศา
ที่มา (ทอม เชื้อวิวัฒน์, ม.ป.ป., หน้า 21)
ภาพที่ 5.14 ภาพฝาผนังรามเกียรติ์ ตอน พระรามประธานกรุงแก่หนุมาน
ที่มา (สำนักงานกินแบ่งรัฐบาล, 2538, หน้า 122)
ภาพที่ 5.15 ภาพฝาผนังรามเกียรติ์ ตอน หนุมานทอดกายให้กองทัพพระรามข้ามจากกรุงลงกา
ที่มา (สำนักงานกินแบ่งรัฐบาล, 2538, หน้า 154)
ในความหมายของการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังนอกเหนือจากเพื่อแสดงถึงศิลปะสวยงามแล้วยังเป็นเครื่องชักจูงให้ผู้ชมเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ให้มีผลในการประกอบคุณงามความดีอีกด้วยในการถ่ายทอดลักษณะของรูปคน สัตว์ จะมีความเป็นเอกลักษณ์ของเส้นทั้ง รูปแบบ และ ท่าทาง ให้ความงดงามอ่อนช้อย ซึ่งมีรูปลักษณ์ ลีลา ทำนองเดียวกับลายไทยเช่นกัน
ภาพที่ 5.16 ภาพจิตรกรรมรดน้ำหอเขียน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ที่มา (น.ณ ปากน้ำ, 2515 หน้า 18)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังจะใช้สีฝุ่นผสมกับยางไม้ เช่น ยางจากไม้มะขวิด ส่วนพู่กันจะใช้ ขนสัตว์ หรือทำจากเปลือกไม้ โดยการทุบให้ปลายแตกเป็นฝอยได้แก่ ไม้กระดังงา สีที่ใช้ ได้แก่ ดินแดง ดินเหลือง ปูนขาว เขม่าดำ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ ลักษณะการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยโบราณ มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
1. แบบสีฝุ่น หรือที่เรียกว่า TEMPERA จะใช้สีฝุ่นเขียนบนผนังที่แห้งสนิท และไม่มีความเค็ม
2. แบบปูนเปียก หรือที่เรียกว่า FRESSCO เป็นการเขียนบนผนังปูนที่ยังไม่แห้ง วิธีนี้จะให้ภาพคงทน ซึ่งวิธีการเขียนแบบนี้คนไทยได้ความรู้มาจากชาวจีน
โครงสร้างและขั้นตอนการวาดภาพคนในรูปแบบภาพจิตรกรรมไทย
ภาพที่ 5.17 ภาพเส้นหน้า (1)
(แสดงโครงสร้างขั้นต้นในการวาดเส้นหน้า ตัวนาง)
ภาพที่ 5.18 ภาพเส้นหน้า (2)
(แสดงโครงสร้างในการวาดเส้นหน้า ตัวนางด้านข้าง)
ภาพที่ 5.19 ภาพเส้นหน้า (3)
(แสดงโครงสร้างในการวาดเส้นด้านหน้าตัวพระ)
ภาพที่ 5.20 ภาพวิถีชีวิตไทย
(แสดงวาดเส้นถ่ายทอดวิถีชีวิตไทยในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย)
ภาพที่ 5.21 ภาพลักษณะเส้นอ่อนช้อย
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ลักษณะเส้นอ่อนช้อยให้ความรู้สึกที่ดี)
ภาพที่ 5.22 ภาพน้ำและคลื่น
(แสดงโครงสร้างของน้ำ และลักษณะของคลื่น)
ภาพที่ 5.23 ภาพวิถีชีวิต
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ถ่ายทอดวิถีชีวิต)
คุณค่าของภาพจิตรกรรมไทยมีหลายแง่มุมขึ้นอยู่กับการศึกษา เช่น รูปแบบทางศิลปะ สวยงาม ทางด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ทางด้านการก่อสร้างบ้านเรือนทรงไทย ทางด้านจารีตประเพณีของคนไทยสมัยโบราณ เป็นต้น
ภาพที่ 5.24 ภาพเส้นอ่อนช้อย (1)
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ลักษณะเส้นอ่อนช้อยให้ความรู้สึกที่ดี)
ภาพที่ 5.25 ภาพเส้นอ่อนช้อย (2)
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ลักษณะเส้นอ่อนช้อยให้ความรู้สึกที่ดี)
ภาพที่ 5.26 ภาพเส้นอ่อนช้อย (3)
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ลักษณะเส้นอ่อนช้อยให้ความรู้สึกที่ดี)
ภาพที่ 5.27 ภาพเส้นอ่อนช้อย (4)
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ลักษณะเส้นอ่อนช้อยให้ความรู้สึกที่ดี)
ภาพที่ 5.28 ภาพจิตรกรรมไทย พระรถเสน
ที่มา (จักรพันธุ์ โปษยกฤต, ม.ป.ป., หน้า 12)
ภาพที่ 5.29 ภาพจิตรกรรมไทย พระรามตามกวาง
ที่มา (จักรพันธุ์ โปษยกฤต, ม.ป.ป., หน้า 32)
ภาพที่ 5.30 ภาพจิตรกรรมไทย นางมณีเมขลากับรามสูร
ที่มา (จักรพันธุ์ โปษยกฤต, ม.ป.ป., หน้า 61)
ในการฝึกวาดภาพจิตรกรรมไทย เนื่องจากภาพจิตรกรรมไทยมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นการเก็บสะสมรูปแบบต่าง ๆ ทั้งภาพ คน สัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ อาคาร ฯลฯ จะเป็นแนวทาง การฝึกเพื่อได้ผลงานที่จะนำไปประยุกต์ในงานออกแบบได้เป็นอย่างดี
สรุป
งานวาดเส้นลายไทย และจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเอกลักษณ์ของไทยที่มีรูปแบบชัดเจน ลักษณะของการถ่ายทอดรูปแบบวาดลายจะฝึกปฏิบัติ โดยแยกเป็นลายพื้นฐานที่มีความสำคัญของลายแม่แบบต่าง ๆ ได้แก่ ลายกนก ลายกระจัง ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฯลฯ แล้วนำมารวมกันในลักษณะของการแตกช่อลาย โดยใช้ทักษะฝีมือ ความชำนาญในการจัดให้ลงตัวมีความสอดคล้อง จิตรกรรมฝาผนังส่วนใหญ่จะเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวทางพุทธศาสนา นิทานชาดก รามเกียรติ์ และจิตรกรรมไทยประยุกต์ ในปัจจุบันจะเป็นงานออกแบบตกแต่งทั่วไปให้ความรู้สึกอ่อนทาง เอกลักษณ์ไทยในปัจจุบัน

การวาดเส้นภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติ
สิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราที่เป็นผลมาจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ส่วนหนึ่ง ได้แก่ ถ้วยกาแฟ บ้านเรือน รถยนต์ เรือ โต๊ะ ดินสอ ยางลบ ฯลฯ และ อีกส่วนหนึ่งที่มีอยู่แล้ว คือ สภาพของธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ ภูเขา นก ปลา ทะเล สายลม แสงแดด ดอกไม้ ไส้เดือน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีความผูกพันกับชีวิตคนเราตลอดมาจนเป็นปกติในการอยู่ร่วมกันตามวิถีทางหรืวิถีชีวิตนั้น ๆ ในการทำงานบางสาขา อาจจะต้องนำรูปร่างของลักษณะของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้ กลับมาเป็นสื่อในลักษณะของรูปร่าง ให้เห็นกันเป็นภาพนิ่ง เพื่อการสร้างสรรค์ทางด้านธุรกิจ ด้านวิชาการความรู้ หรือความเพลิดเพลิน การวาดเส้นสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ทักษะฝีมือ การสังเกต การเข้ามามีส่วนร่วมสร้างสรรค์งานทางด้านต่าง ๆ ด้วย
การวาดเส้นต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สิ่งที่มีชีวิต และสิ่งที่ไม่มีชีวิตการวาดเส้นทั้ง 2 นี้มีรายละเอียด รูปร่าง ขนาด เรื่องราว เกินที่จะเก็บรวบรวมเป็นรายการได้ ดังนั้นในการทำงานก็จะเลือกว่าจะใช้สิ่งไหน ทำอะไร อย่างไร และให้การวาดเส้นสร้างภาพ สิ่งนั้นส่วนนั้นขึ้นมา ซึ่งพอจะแบ่งเป็นแนวทางได้ดังนี้ คือ 
1. ภาพวาดเส้นเพื่อนำไปเป็นภาพประกอบงานเขียนต่างๆ 
2. ภาพวาดเส้นนำไปประกอบคำบรรยาย การอภิปราย เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจน รวดเร็วขึ้น 
3. ภาพวาดเส้นนำไปใช้เป็นต้นแบบในการสร้างงานต่าง ๆ ในรูปของการลอกแบบ การดัดแปลงแบบ ซึ่งได้ทั้งย่อ ขยาย ต่อเติม และตัดต่อในการวาดเส้นผู้วาดจะต้องถ่ายทอดให้ลักษณะของเส้นมีความชัดเจนชัดเจนนอกจากจะ ฝึกพัฒนาทางด้านฝีมือแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่มั่นศึกษาหาความรู้ในสิ่งต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะต้องฝึกเป็นคนช่างสังเกต สามรถเก็บรายละเอียดได้ดีทั่วไป และสามารถถ่ายทอดออกมาให้คนทั่วไปได้เข้าใจ
ลักษณะของภาพวาดเส้นที่ดีสามารถนำไปใช้งานได้ หรือเพื่อนำไปดัดแปลงใช้ในงานออกแบบต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบควรมีลักษณะดังนี้ 
1. มีรูปร่างที่สัดส่วนถูกต้อง หรือ มีความเหมือน
2. แสดงรายละเอียดชัดเจนถูกต้องเห็นแล้วเข้าใจ สาระของภาพไม่แต่งเติมเกินความเป็นจริง
3. มีการจัดภาพสิ่งของ หรือวัตถุนั้นให้ได้มุมมองที่สวยงามเสียก่อน
4. มีการศึกษาแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของสิ่งของหรือวัตถุนั้น ๆ
5. เลือกเครื่องมือในการวาดให้ไดภาพที่ขัดเจน คมชัด ง่ายในการมองและนำไปใช้
ภาพที่ 6.1 ภาพเส้นรูปนก (1)
(แสดงขั้นตอนการวาดเส้นรูปนก เริ่มจากวงกมลและเคล้าโครงเส้นก่อน แล้วกำหนดเส้น รูปร่างจริงภายหลัง)
ภาพที่ 6.2 ภาพเส้นรูปนก (2)
(แสดงขั้นตอนการวาดเส้นรูปนกที่เกาะกิ่งไม้เป็นการถ่ายทอด ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ)
ภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติในรูปแบบของงานวาดเส้น
ในการวาดภาพรูปเหมือนจริงจากธรรมชาติ การได้สังเกต และจดจำลักษณะต่าง ๆ ก็จะทำให้วาดส่วนที่เป็นปลีกย่อยได้เป็นอย่างดี หรืออาจสะสมรูปภาพของสิ่งนั้น ๆ ไว้เป็นแบบอย่าง ในการฝึก เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประหยัดเวลาในการคิดหาท่าทางของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
ภาพที่ 6.3 ภาพเส้นรูปนก (3)
(แสดงการวาดเส้นภาพนกกางปีกบินโดยอาศัยโครงร่างก่อน แล้วลงรายระเอียด)
ภาพที่ 6.4 ภาพเส้นรูปนก (4)
(แสดงการวาดเส้นภาพนกบินมากกว่าหนึ่ง ต้องอาศัยโครงร่างก่อนเพื่อได้สัดส่วนและ กลุ่มนกที่สวยงาม)
ภาพที่ 6.5 ภาพเส้นรูปนก (5)
(แสดงตัวอย่างวาดเส้นภาพนกชนิดต่าง ๆ กัน)
รูปแบบวาดเส้นภาพนก
นก เป็นสัตว์ หรือ สิ่งมีชีวิตที่บินได้ มีส่วนที่ยึดกางออกได้ คือ ปีก เพื่อการบินไปมาในอากาศดังนั้นจะมีลีลาที่เคลื่อนที่ และ อยู่กับที่โดยการเกาะบนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นก็เดินบ้างบนพื้นดินหรือหลังคาบ้าน ในการวาดเส้น กิ่งไม้ ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสัตว์พวกนี้
ภาพที่ 6.6 ภาพเส้นรูปนก (6)
(แสดงตัวอย่างภาพนกที่เกาะกิ่งไม้ซึ่งเป็นท่าทางอย่างหนึ่งของการวาดเส้นภาพนก)
ภาพที่ 6.7 ภาพเส้นรูปนก (7)
(แสดงตัวอย่างวาดเส้นภาพนกชนิดต่าง ๆ ในลักษณะของการบิน)
ภาพที่ 6.8 ภาพเส้นรูปนก (8)
(แสดงวาดเส้นภาพนกที่แสดงรายระเอียดของขน และเน้นลักษณะของแสงเงา)
ในการวาดภาพรูปเหมือนจริงจากธรรมชาติ บางครั้งอาจต้องใช้การผสมผสานของเครื่องมือในการวาดเช่น ดินสอ ปากกา สี เพื่อให้เกิดความเหมือนจริง ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงาน
รูปแบบของการวาดเส้นสัตว์น้ำ
สัตว์น้ำ เป็นภาพของสิ่งมีชีวิตที่มีความเคลื่อนไหว มีลีลา โดยเฉพาะปลาจะมีลักษณะ โดยรวมคล้ายกัน เช่น รูปทรงมักจะแบนแนวตั้ง มีตา 2 ข้าง มีครีบ มีหาง มีเกล็ด จะแตกต่างจากนี้ก็อาจจะเป็นแนวที่มองกว้างไปอีก ในสัตว์น้ำก็แยกออกไปอีก เป็นน้ำจืด น้ำเค็ม ซึ่งนอกจากปลาก็เป็นปะการัง หอย กุ้ง เต่า ฯลฯ ซึ่งมีรูปแบบที่เป็นแนวทางในการวาดเส้นดังนี้
ภาพที่ 6.9 ภาพเส้นรูปปลา (1)
(แสดงขั้นตอน และโครงสร้าง การวาดเส้นภาพปลา)
มีข้อที่น่าสังเกตว่า โดยทั่วไปมักจะนิยมวาดภาพปลาในลักษณะของด้านข้าง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าภาพด้านข้างเป็นลักษณะเด่นของรูปร่าง ของปลา และมีความชัดเจนในการถ่ายทอด
ภาพที่ 6.10 ภาพเส้นรูปปลา (2)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาโดยอาศัยโครงร่างก่อนแล้วลงรายละเอียด)
ภาพที่ 6.11 ภาพเส้นรูปปลา (3)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาด้านข้างโดยอาศัยเค้าโครงร่างก่อนแล้วเน้นรายละเอียด)
ภาพที่ 6.12 ภาพเส้นรูปปลา (4)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาด้านข้างโดยอาศัยเค้าโครงร่างก่อนแล้วเน้นรายละเอียด)
ภาพที่ 6.13 ภาพเส้นรูปปลา (5)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาด้านข้างโดยอาศัยเค้าโครงร่างก่อนแล้วเน้นรายละเอียด)
ภาพที่ 6.14 ภาพเส้นรูปปลา (6)
(แสดงตัวอย่างภาพวาดเส้นปลาชนิดต่าง ๆ)
ภาพที่ 6.15 ภาพเส้นรูปปลา (7)
(แสดงตัวอย่างภาพวาดเส้นปลาชนิดต่าง ๆ ทั้งน้ำจืด และน้ำทะเล)
ภาพที่ 6.16 ภาพเส้นรูปปลา (8)
(แสดงตัวอย่างภาพวาดเส้นปลาชนิดต่าง ๆ)
ภาพที่ 6.17 ภาพเส้นรูปปลา (9)
(แสดงภาพวาดเส้นปลาในลักษณะของการถ่ายทอดให้มีรายระเอียดมากขึ้น)
ภาพที่ 6.18 ภาพเส้นสัตว์น้ำ
(แสดงภาพวาดเส้นสัตว์น้ำทั่ว ๆ ไป)
ภาพที่ 6.19 ภาพเส้นหอยทะเล
(แสดงภาพวาดเส้นหอยทะเลชนิดต่าง ๆ)
สัตว์น้ำจำพวกหอย โดยปกติจะไม่ค่อยได้เห็นตัว จะเห็นลักษณะของเปลือกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดรูปร่างของการวาดเส้น
วาดเส้นดอกไม้ 
ดอกไม้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของความสวยงาม ทั้งรูปร่าง สีสัน กลิ่นหอม และมีจำนวนมาก สามารถนำมาเลือกประกอบงานต่าง ๆ ได้หลากหลาย ในการศึกษาก่อนการนำมาเส้นมีตั้งแต่ขั้นง่ายสุด คือ วาดจากรูปดอกไม้ที่มีอยู่แล้ว จากรูปในหนังสือทั่วไปซึ่งจะได้ในลักษณะที่หนังสือให้มา แต่ถ้าให้ได้มุมภาพดังใจก็ต้องไปถ่ายภาพดอกไม้จากมุมนั้นมาแล้วนำมาวาด หรือ เอาของจริงมาแล้ววาด แต้ถ้าให้ได้รายละเอียดและศึกษาอย่างจริงจังก็ต้องเอาของจริงมา และ แยกแยะชิ้นส่วนต่างๆ ทุกชิ้นเพื่อให้ได้ผลงานที่ละเอียด ชัดเจนอย่างจริงจัง
ภาพที่ 6.20 ภาพเส้นดอกไม้ (1)
(แสดงรูปแบบวาดเส้นดอกไม้ชนิดต่าง ๆ)
ภาพที่ 6.21 ภาพเส้นดอกไม้ (2)
(แสดงรูปแบบวาดเส้นดอกไม้ที่มีความซับซ้อนของกลีบชนิดต่าง ๆ)
รูปแบบของดอกไม้ในการวาดเส้นจะต้องมีส่วนต่างๆประกอบ เพื่อความสมบรูณ์แบบของพืช ดังนั้นจะต้องมีส่วนของ กิ่ง ก้าน ใบ และส่วนที่เป็นดอกก็ควรมีการถ่ายทอดทั้งดอกตูม ดอกอ่อน ดอกบาน ซึ่งอาจจะอยู่ในลักษณะของการจัดภาพ Foreground Middle ground และ Background เข้ามาช่วย
ภาพที่ 6.22 ภาพเส้นดอกไม้ (3)
(แสดงวาดเส้นดอกไม้ในลักษณะของการถ่ายทอด ในรูปแบบที่เป็น ช่อ มีทั้งดอกตูม ดอกบาน และดอกเดี่ยว ที่มีก้านใบ ซึ่งเป็นธรรมชาติของพืชอยู่แล้ว)
ภาพที่ 6.23 ภาพเส้นดอกไม้ (4)
(แสดงภาพวาดเส้นดอกบัว และรูปแบบของใบลักษณะต่าง ๆ)
การวาดเส้นเพื่อให้ได้ภาพเหมือนจริง จากธรรมชาติ อาจทำได้หลายวิธีการ เช่น
1.ได้มาจากหนังสือต่าง ๆ ที่เห็นว่าภาพนั้นสวยงาม ส่วนใหญ่จะเป็นภาพถ่ายก็นำมาเป็นแบบอย่างแล้ววาดเป็นลายเส้นที่เรียบง่ายแสดงราละเอียดชัดเจน
ภาพที่ 6.24 ภาพเส้นดอกไม้ (5)
(แสดงดอกแคแสดที่ถ่ายจากกล้องถ่ายรูปมาแยก เพื่อการศึกษารูปร่างในการนำมาวาดเส้น)
ภาพที่ 6.25 ภาพเส้นดอกไม้ (6)
(แสดงภาพวาดเส้นดอกแคแสดด้วยปากกา มีทั้งลายเส้น ผสมงานจุด)
2. ได้มาจากภาพวาดเส้นที่เขาวาดได้แล้ว แล้วนำมาดัดแปลงใหม่เพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน วิธีนี้ค่อยข้างสะดวก ง่าย รวดเร็ว
3. วาดเส้นจากการไปนั่งวาด หรือยืนวาดจากของจริง เช่น เก็บดอกไม้มาแล้ววาดให้เหมือนจริงมากที่สุด
4. วาดภาพสิ่งของนั้นจากการไปถ่ายรูป ซึ่งเป็นการเลือกมุมมองที่จัดว่าดีแล้วในขั้นแรก ซึ่งจะได้แบบที่เป็นภาพนิ่ง แล้วนำรูปที่ถ่ายมาวาดเป็นลายเส้นชัดเจนใหม่
ภาพที่ 6.26 แบบภาพนิ่งที่เป็นต้นแบบ
(แสดงสภาพของไร่และผลสับปะรดในการออกไปศึกษาถ่ายภาพเพื่อนำมาประกอบการวาดเส้น)
ภาพที่ 6.27 ภาพวาดเส้นผลสับปะรดจากภาพต้นแบบ
(แสดงผลสับปะรดจากการถ่ายแล้วนำมาวาดเป็นภาพลายเส้นแสดงให้เห็นรายละเอียดเรียบง่าย มีความชัดเจน ของลายตา และใบ)
จะเห็นได้ว่าภาพวาดเส้นนั้นมีความยากง่าย คุณภาพและค่าที่ต่างกัน ในวิธีที่ 3 กับ 4 จะได้ ผลงานวาดเส้นที่มีมุมมองใหม่ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่ควรฝึกปฏิบัติ เป็นผลงานที่ไม่ได้อยู่ในลักษณะที่ลอกแบบซึ่งได้ภาพที่ถ่ายทอดซ้ำกัน
วาดเส้นวัตถุสิ่งของทั่วไป
สิ่งที่ไม่มีชีวิตแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นที่นำมาใช้เป็นแบบอย่าง เป็นภาพประกอบ หรือ นำไปดัดแปลงในงานออกแบบต่าง ๆ สิ่งของพวกนี้ก็เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวทั่วไป ได้แก่ จำพวก ยานพาหนะ ของใช้ประจำตัว ประจำวัน ฯลฯ ซึ่งมีโครงสร้างในการวาดเส้นนั้นง่ายไม่ซับซ้อน จนกระทั่งแสดงรายละเอียด ครบถ้วนชัดเจน ที่ต้องใช้เครื่องมือหลากหลายในการวาดขึ้นมา ดังนั้นบางอย่างเราสามารถศึกษา และฝึกจากของจริงได้
ภาพที่ 6.28 ภาพวาดเส้นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
(แสดงภาพวาดเส้น รถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ ที่ใช้ลักษณะของการระบายเข้มดำในส่วน ของที่เป็นเงาเป็นการช่วยเน้น ภาพวิธีหนึ่ง)
ภาพที่ 6.29 ภาพวาดเส้นสิ่งของที่เห็นทั่วไป
(แสดงภาพวาดเส้นสิ่งของที่เห็นทั่วไป ที่ใช้ลักษณะของการระบายเข้มเน้นแสงเงา ทั้งตัดกัน และกลมกลืน)
ในเบื้องต้นในการฝึกเขียนสิ่งของต่างๆ อาจใช้วิธีการลอกแบบจากงานวาดเส้นที่มีอยู่แล้ว แต่ต้องควบคู่ไปกับการใช้ความคิดและการสังเกต การจัดวางมุมหรือองค์ประกอบของภาพนั้น ๆ ไปด้วย แล้วฝึกจัดภาพมุมมองขึ้นใหม่จะได้เป็นการปฏิบัติที่จะได้ทั้งทักษะฝีมือ และพัฒนาความสามารถทางความคิด สติปัญญาเป็นของตัวเอง เพราะในอนาคตถึงแม้โปรแกรมกราฟฟิกทางคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทในการสร้างภาพได้อย่างรวดเร็ว แต่ความคิดฝีมือเบื้องต้นก็ยังต้องเป็นผู้มีฝีมือกำหนดให้มาก่อน และทักษะฝีมือของมนุษย์เท่านั้นที่จะถ่ายทอดภาพทุกความต้องการ ทุกจิตนาการได้ ไม่ว่าจิตนาการนั้นจะล้ำลึก กว้างไกล พิสดารอย่างไร ก็ไม่พ้นสติปัญญาที่สัมพันธ์กันกับทักษะ ฝีมือวาดเส้นของมนุษย์ได้
สรุป
ลักษณะการวาดเส้นภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติ เพื่อนำไปในงานออกแบบ หรือ ไปประยุกต์ใช้งาน ลักษณะของการถ่ายทอดต้องมีความเรียบง่าย ชัดเจน แสดงรายละเอียดสมบรูณ์ถูกต้องของสิ่งนั้น ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นสิ่งมีชีวิตพวก นก ปลา พืช และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันในการใช้สอย และมีการพัฒนาสิ่งของเหล่านี้ต่อไปในงานออกแบบ ลักษณะของการวาดเส้นจะยึดภาพร่างเค้าโครงอย่างนั้นของ เส้น รูปวงกลม รูปเหลี่ยม เป็นการ จัดรูปร่าง เพื่อสะดวกในการเน้นภาพเหมือนจริง











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น