วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติลายไทย







                                                                        ประวัติลายไทย
 คำที่เรียกว่า"ลาย"นั้น หมายถึงลายดอกหรือลายเครือเถา มีรูปร่างเป็นดอกไม้ หรือ
ถูกดัดแปลงเป็นตัวเทศ ใบเทศ สมมุติเป็นรูปดอก ใบ เพื่อให้เข้าใจง่าย ส่วนคำว่า"กนก" มีรูปลักษณ์
เป็นกอ กาบ กิ่ง ก้าน ใบ โดยผูกให้สวยงาม เป็นฝีมือของช่างระดับชั้นครูเท่านั้น จึงเขียนได้อย่าง
อ่อนช้อยสวยงาม ปัจจุบันมักเรียกรวมกันว่า โดยใส่คำว่า"ลาย"ไว้ข้างหน้า เช่น ลายกนก
ลายประจำยาม เป็นต้น..

ศิลปภาพลายไทย
ชาติไทยเราได้รับมรดกตกทอดทางศิลปมาแต่บรรพบุรุษ อันหาค่ามิได้ และงดงามทางศิลป ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นศิลปไทย รู้สึกติดตาตรึงใจ ที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อันน่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้เกิดปิติ ความสงบ และความสุขสบายใจ

การเขียนภาพลายไทยนี้มีมาตั้งแต่โบราณ ผู้เขียนภาพลายไทยในกาลก่อนมีความรู้สึกนึกคิด ตามสิ่งที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำมาเขียนเป็นลวดลายหรือภาพต่างๆ ต่อมาได้รับอิทธิพล จากต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวอินเดีย ได้นำศิลปะหลายแขนงเข้ามา ครูอาจารย์คนไทย ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์เหล่านั้น แล้วนำมาผสม ผสานกับศิอลปดั้งเดิม ของคนไทยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานตามประวัติศาสตร์ลายไทย ได้เริ่ม ขึ้น ตั้งแต่สมัยเชียงแสน สืบทอดกันมาที่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ ต่อมาช่างเหล่านั้นได้ถวายตัวเพื่อรับใช้พระเจ้าแผ่นดินเรียก “ช่างหลวง” หรือ “ช่างสิบหมู่      

ลายไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น ๔ หมวด ได้แก่
        ๑. หมวดกระหนก หมายถึง การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนกใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น
        ๒. หมวดนารี หมายถึง การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึกเขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ
        ๓.หมวดกระบี่ หมายถึง การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆโดยมากจะยึดเอายักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
        ๔.หมวดคชะ หมายถึง การเขียนภาพสัตว์ต่างๆ ได้แก่ สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นต้น และสัตว์ในวรรณคดีที่เกิดจากจินตนาการของช่างเขียนหรือเราเรียกว่า สัตว์หิมพานต์ มีรูปร่างประหลาด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ กินรี ครุฑ หงส์ เป็นต้น
        การเขียนลายไทยนั้นต้องฝึกการเคลื่อนไหวของมือ การฝึกเขียนเส้นให้มีความลื่นไหล อ่อนช้อยมีลีลาและจังหวะที่สอดรับสัมพันธ์กันอย่างลงตัว ควรคำนึงถึงช่องไฟของลายการล้อของลาย และควรที่จะฝึกเขียนมากสักหน่อย เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเขียนลายไทยต่อๆไป

แม่ลายประจำยาม


                                                              ตัวอย่าง
วิธีการเขียนแม่ลายประจำยาม
        1.) เริ่มจากการเขียนรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 3 นิ้ว แบ่งกึ่งกลางข้างละ 1.5 นิ้ว และส่วนที่เป็นทรงกลม ตรงกลาง 1 นิ้ว ตามภาพตัวอย่าง
        2.) เมื่อได้รูปโครงร่างตามแบบแล้ว ขั้นต่อมาให้เขียนรูปวงกลมก่อน โดยกางวงเวียนออก รัศมีครึ่งนิ้ว วาดทั้งทรงกลมด้านในและด้านนอก โดยให้ทรงกลมด้านใน ที่เป็นไส้ลาย มีน้ำหนักเส้นเบากว่า ทรงกลมที่เป็นเส้นรูปด้านนอก
        3.) วาดกลีบดอกทั้ง  กลีบ กรรมวิธีเช่นเดียวกับ การเขียนลายกระจังตาอ้อย (ในบทเรียนที่ 2.) โดยคุณจะเลือกเขียนให้กลีบ มีรูปแบบเป็น การบากลายเข้า หรือบากลายออกก็ได้
        4.) เมื่อวาดได้รูปทรงทั้งหมดแล้ว ขั้นสุดท้ายคือการใส่กลีบรองดอก ที่มุมเว้าทั้ง 4 เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
 เอกสารอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น