วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สถาปัตยกรรมเมืองโบราณ


เมืองโบราณ - สมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยนายประไพ วิริยะพันธุ์ นักธุรกิจเจ้าของบริษัทวิริยะประกันภัย เป็นสถานที่รวบรวมวัฒนธรรม ของไทย อาทิ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 เมืองโบราณตั้งอยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 33 ถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ห่างจากตัวจังหวัด 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ 800 ไร่ ลักษณะที่ดินมีผังบริเวณคล้ายรูปขวาน เหมือนกับอาณาเขตของประเทศไทย ภายในจะมีโบราณสถาน ปูชนียสถาน วัดโบราณ พระราชวัง ต่างๆ เป็นต้น และยังมี ส่วนรังสรรค์เป็นสถานที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของไทย มีไว้จัดแสดงที่นี่ด้วย ใน พ.ศ. 2549 รายการอเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 6 รายการเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาได้ นำผู้เข้าแข่งขันมาแข่งรอบชิงชนะเลิศที่นี่ โดยใช้ศาลาพระอรหันต์ซึ่งเป็นศาลากลางน้ำขนาดใหญ่เป็นรันเวย์ และถือได้ว่าเป็นเวทีเดินแบบที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรายการ นอกจากนี้ยังใช้พื้นที่ภายในพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทจำลองเป็นสถานที่ในการ ตัดสินผู้ชนะอีกด้วย วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำนวน 500 คน นำโดยนายวีระ สมความคิด ได้เดินทางมายังเมืองโบราณ เพื่ออ่านแถลงการณ์ในนามเครือข่ายภาคีทวงคืนดินแดนแผ่นดินไทย จะดำเนินการทุกวิถีทางตามกรอบของกฎหมาย เพื่อทวงคืนแผ่นดินไทยรอบปราสาทพระวิหารมา เป็นของคนไทย จะดำเนินคดีกับคนที่ทำให้แผ่นดินไทยต้องถูกรุกล้ำ และทำให้เสียดินแดน ขอให้ชาวกัมพูชาที่รุกล้ำแผ่นดินไทยออกนอกพื้นที่ และประณามคณะกรรมการมรดกโลกที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและลำเอียง หลังจากนั้น ทั้งหมดได้ร่วมกันเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา ร้องเพลงชาติไทย ดังกึกก้องเมืองโบราณ


เมืองโบราณ - สมุทรปราการ


ความเห็นที่ โพสเมื่อ : 2010-05-14 14:31:36  โดย : AeeM-Cool
 
พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (รูปซ้ายบน)
พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ราชบุรี สร้างขึ้นเนื่องในพระพุทธศาสนามหายานฐานก่อด้วยศิลาแลง องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ เป็นศิลปะละบุรี สร้างขึ้นตังแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แต่มีการซ่อมแซมและสร้างเพิ่มเติมในสมัยหลัง เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในคูหาปรางค์เป็นฝีมือช่ายสมัยอยุธยาตอนต้นรูปปั้นและลวดลายประดับส่วนบนของปรางค์มีทั้งฝีมือช่างสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์

หอพระไตรปิฎกและหอระฆัง (รูปขวาบน)
ในสมัยโบราณนิยมาสร้างหอพระไตรปิฎกเป็นหอสูงไว้กลางสระน้ำ เพื่อป้องกันอันตรายจากมดและปลวกปัจจุบันหอไตรแบบนี้นับวันจะหาดูได้ยากยิ่ง เหตุนี้เมืองโบราณจริงได้ขอผาติกรรมมาสร้างไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อไป
หอพระไตรปิฎกหลังนี้เดิมอยู่ที่วัดใหญ่ อำเภอบางคนที่ จังหวัดสมุทรสงคราม มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากตั้งอยู่กลางน้ำ ลักษณะสถาปัตยกรรมน่าจะเลียนแบบมาจากสมัยอยุธยา ที่ผนังด้านนอกมีภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวปิดทอง แต่ปัจจุบันลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว
บริเวณใกล้ ๆ กันนี้มีหอระฆังที่มีรูปแบบเฉพาะถิ่นต่างไปจากท้องถิ่นอื่น หาดูได้ยาก ซึ่งเมืองโบราณได้ขอผาติกรรมมาจากวัดเดียวกัน

ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี (ซ้ายล่าง)
ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม หรือที่มักเรียกกันว่า ตำหนักพระเจ้าเสือ เดิมเป็นพระตำหนักอยู่ในพระบรมมหาราชวังกรุงศรีอยุธยา ต่อมาสมเด็จพระเจ้าเสือโปรดเกล้าฯ ให้รื้อถวายสมเด็จพระสุวรรณมุนี (สมเด็จเจ้าแตงโม) พระสังฆราชแห่งกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้น ซึ่งมีชาติภูมิเป็นชาวเพชรบุรี พระตำหนักนี้จึงถูกรื้อมาไว้วัดเดิมที่ท่านเคยอาศัยเล่าเรียนอยู่
ศาลาการเปรียญหลังนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๓ สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เสาทุกต้นเป็นเสาแปดเหลี่ยม ประตูเป็นซุ้มเรือนแก้วยอดแหลมดูเด่นสง่าเป็นพิเศษมีลายจำหลังไม้อันประณีตพิสดารและลายปูนปั้นที่หน้าบันอันเป็นฝีมือช่างชั้นครูของเพชรบุรีโดยแท้
เมืองโบราณได้สร้างศาลาการเปรียญฯ แห่งนี้ขึ้น โดยให้เล็กกว่าของจริงเล็กน้อยภายในจัดเป็นพุทธพิพิธภัณฑ์แสดงศิลปวัตถุต่าง ๆ

สวนขวา (ขวาล่าง)
กลุ่มสถาปัตยกรรมแบบจีนแห่งนี้ เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของสวนขวา ภายในพระบรมมหาราชวังครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งสร้างไว้เพื่อเป็นที่เสด็จประพาสภายในพระบรมมหาราชวังต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลิกล้มสวนขวาเสีย และให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ไปถวายวัดหลายวัด
เมืองโบราณได้ขอผาติกรรมชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้างเหล้านี้ มาจากวัดไผ่เงิน ตำบลตรอกจันทน์ อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีศิลปะจีนเข้ามาผสมผสานกับศิลปะเทยอยู่มาก
ท่องเที่ยวสุดฮิตหัวหิน  ที่พักหัวหิน  เกาะเสม็ด  เกาะช้าง  เขาใหญ่  ทัวร์ต่างประเทศ!

ความเห็นที่ โพสเมื่อ : 2010-05-14 14:35:25  โดย : AeeM-Cool
 
ท้องพระโรงกรุงธนบุรี (ซ้ายบน)
ท้องพระโรงกรุงธนบุรี หรือพระราชวังเดิม ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์กองทัพเรือ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว แบบตรีมุข หลังคาลดชั้น ตัวท้องพระโรงเป็นตึกสองหลังเชื่อมต่อกันหลังแรกเป็นท้องพระโรง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ที่ประทับออกว่าราชการทำเป็นอัฒจันทร์ลดชั้นพื้นไม้ มีบันไดขึ้นสองข้าง อาคารหลังที่สองเรียกว่า พระที่นั่งขวาง เป็นส่วนพระราชมณเฑียร
ภายในห้องบรรทมของท้องพระโรงกรุงธนบุรี ณ เมืองโบราณแห่งนี้มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพงศาวดารกรุงธนบุรี ตั้งแต่เสียกรุงครั้งที่ ๒ การกู้อิสรภาพ มาจากถึงการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ชมได้ซึมซับในวีรกรรมและพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระพุทธรูปทวารวดี (ขวาบน)
เมืองโบราณนครชัยศรี หรือนครปฐมโบราณ เริ่มเป็นบ้านเป็นเมิงมาตั้งแต่พุธศตวรรษที่ ๑๒ และเจริญรุ่งเรืองจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ดังปรากฏหลักฐานเนื่องในพุทธศาสนานิกายเถรวาทมีการสร้างพระสถูปเจดีย์และโบราณวุตถุสถานต่าง ๆ มากมายจนเกิดรูปแบบทางศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ที่เรียกว่าวัฒนธรรม ทวารวดี ศิลปกรรมดังกล่าวได้แพร่กระจายไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
สิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของวัฒนธรรมทวารวดีก็คือ การสร้างพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาท ปัจจุบันพบ ๔ องค์ ได้นำไปประดิฐานตามที่ต่าง ๆ ดังนี้คือที่พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ ลานประทักษิณด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และพิพิภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามาพระยา

เรือนทับขวัญ (เรือนไทยทวารวดี) (ซ้ายล่าง)
เรือนทับขวํญนี้สร้างขึ้นตามแบบเรือนทับขวัญที่อยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ออกแบบโดดยพระยาวิศวกรรมประสิทธิ์ (น้อย พึ่งศิลป์) เรือนทับขวัญเป็นเรือนหมู่ ๘ หลัง มีชานแล่นถึงกันตลอด เรือนเป็นหมู่เช่นนี้แสดงถึงฐานะของเจ้าของบ้านว่าเป็นผู้มีฐานะดี ที่เรียกกันว่าเรือนทวารวดีนั้น เนื่องจากได้เลียนแบบปั้นลมให้เป็นรูปตัวเหงากระหนก แบบเดียวกับปั้นลมของปราสาทซึ่งพบในรูปจำหลักบนใบเสมาสมัยทวารวดีนั่นเอง
เรือนไทยแห่งนี้แสดงให้เห็นถึงระบบการก่อสร้างของไทยแบบโบราณแท้ ๆ ครั้งที่ยังไม่มีตะปูและเครื่องมีอันทันสมัยต่าง ๆ มีเพียงมีด เครื่องมือถากรูปจอบที่เรียกกันว่า ผึ่งกับสิ่ว และสิ่งอื่นไม่มากนัก โดยการยึกซึ่งกันและกันไว้ ใช้เจาะรูเข้าเดือย ใช้สลักไม้ทั้งสิ้นเรียกว่าฝาลูกฟักและเรียกรวมว่า เรือนเครื่องสับ

อนุสรณ์สถานกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (ขวาล่าง)
สมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดมีตำแห่งกรมราชวังบวรสถานมงคลขึ้น ซึ่งมีความสำคัญรองลงมาจากพระมหากษัตริย์เจ้านายผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะประทับอยู่ ณ พระราชวังที่แยกออกมาจากพระราชวังหลวงเป็นเหตุให้คนทั่วไปเรียกกันว่า "วังหน้า" และมีสืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อครั้งสงคราม 9ทัพ ซึ่งพระเจ้าปดุงกษัตริย์ในราชวงศ์อลองพญาของพม่าทรงยกกำลังมามากมาย เดินทางมาจากทุกทิศ จัดเป็น ๙ ทัพ ทั้งทางบกและทางน้ำ นับว่าเป็นการศึกที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้งที่พม่ายกมาตีไทย ฝ่ายไทยมีกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเป็นแม่ทัพด้วยพระปรีชาสามารถ ความเข้มแข็ง เด็ดขาดและปราดเปรื่อง จึงทรงเป็นขวัญและกำลังใจสำคัญแก่กองทัพไทย จนสามารถรบชนะพม่าได้ทั้งที่พม่ามีกำลังมากกว่า
ท่องเที่ยวสุดฮิตหัวหิน  ที่พักหัวหิน  เกาะเสม็ด  เกาะช้าง  เขาใหญ่  ทัวร์ต่างประเทศ!

ความเห็นที่ โพสเมื่อ : 2010-05-14 14:37:44  โดย : AeeM-Cool
 
มณฑปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (เจ้าแม่กวนอิม)(ซ้ายบน)
คุณธรรมสองอย่างที่พัฒนาขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมของมนุษยชาติ คือ ความเมตตากรุณา และความยุติธรารม ในความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คือ พระเทพแห่งเมตตาธรรม นับเป็นเทพที่มีความโดดเด่นที่สุดเพราะมีผู้นับถืออย่างแพร่หลายจากอินเดียไปยังจีน ทิเบต ญี่ปุ่น และเกาหลี ทั้งทางบกและทางทะเล ภาพลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้โดยทั่ว ๆ ไปคือ มีพระวรกายที่งดงามอ่อนโยนทรงสังวาลเป็นรูปเนื้อทราย และพระพักตร์เศร้าเป็นนิจ พร้อมด้วยสายพระเนตรที่แสดงความกรุณาห่วงใยมวลมนุษย์ ในเมืองจีนเรียกพระโพธิสัตว์องค์นี้ว่า "กวนอิม" หลังสมัยราชวงศ์ถังลงมาได้เกิดตำนานเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิมขึ้น จึงทำให้มีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์องค์นี้เป็นสตรีไปและปัจจุบันคนส่วนใหญ่รู้จักกันว่าคือ "เจ้าแม่กวนอิม"

หอพระแก้ว (ขวาบน)
เมื่อครั้งที่พระนครอยุธยาเป็นราชธานี มีอำนาจแผ่ไพศาล สามารถปราบปรามบ้านเมืองน้อยใหญ่ต่าง ๆ ได้มากมาย และได้นำสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเครื่องบรรณาการจากต่างแดนต่างถิ่นมารวมไว้ให้คนได้เคาระบูชาในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์รวมความสักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา
หอพระแก้วที่สร้างขึ้นในเมืองโบราณนี้ มีลักษณะรูปทรงเป็น แปดเหลี่ยม ซึ่งเมืองโบราณได้แบบอย่างมาจากภาถสลักประตูตู้พระธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ดูแล้วสองคล้องกับภาพอาคารทรงสูงสมัยอยุธยาที่ชาวต่างประเทศได้บันทึกไว้ ภายในอาคารเป็นที่ประดิษฐานพระแก้ว และพระพุทธรูปสลักไม้ขนาดใหญ่รวมทั้งมีการประดับประดาตกแต่งที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เช่น ภาพพุทธรูปสลักไม้ขนาดใหญ่รวมทั้งมีการประดับประดาตกแต่งที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวในพระพุทธศาสนา เช่น ภาพพุทธประวัติ ชาดกไตรภูมิพระร่วง ตลอดจนศิลปกรรมอีกหลายแขนกเช่น งานจำหลักไม้ งานประดับมุก ฯลฯ
หอพระแก้วแห่งนี้ คือสัญลักษณ์ของความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาแห่งราชธานีศรีอยุธยาในอดีตนั่นเอง

วิหารวัดเชียงของ เชียงราย (ซ้ายล่าง)
วัดไทยทางเหนือแต่โบราณ ให้ความสำคัญแก่วิหารมากกว่าโบสถ์ เพราะว่าวิหารเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปประธานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนมาทำบุญกราบไหว้และประกอบพิธีกรรมได้ทุกเวลา ต่างกับโบสถ์ที่เป็นที่สำ สังฆกรรมของสงฆ์ จึงมักสร้างเป็นอาคารขนาดเล็ก
วิหารหลังนี้เมืองโบราณได้ขอผาติกรรมมาจากวัดเชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา) เป็นอาคารเครื่องไม้ที่เก่าแก่ของท้องถิ่นที่นับวันจะหปาดูไม่ได้อีกแล้ว ลักษณะเป็นอาคารโถงขนาดใหญ่ดูแบบบางแต่มั่นคง การใช้คานไม้ล้อมเสาวิหารทุกต้นไว้ด้วยกันในตอนบน เพื่อให้อาคารตั้งอยู่ได้โดยปลอดภัย แม้ว่าโคนเสาเบื้องล่างจะขาดคอดินจากการผุกร่อนก็ตาม การมุงหลังคาด้วยกระเบื้องไม้ก็ใช้ขอไม้เกี่ยวเกาะกับไม้ระแนงที่ทำจากต้นหมาก โดยไม่ต้องใช้ตะปูหรือโลหะยึดแต่หย่างใด

โบสถ์น้ำ (ขวาล่าง)
โบสถ์น้ำ เป็นโบสถ์ที่มีน้ำล้อมรอบและถ่ายเทได้ อันเป็นคติการสร้างโบสถ์แบบหนึ่งในพุทธศาสนา น้ำที่ล้อมรอบนี้เป็นการแสดงถึงเขตขัณฑสีมา ตามคติโบราณถือว่าแสดงถึงความมั่นคงแน่นอน สามารถใช้ประกอบพิธีได้ตลอดเวลาโดยมิต้องทำพิธีถอดพัทธสีมาเพื่อทำพิธีสงฆ์ ยกเว้นพิธีบวชเท่านั้นต้องทำพิธีผูกพัทธสีมาเพราะถือว่าน้ำได้พัดพาไปแล้ว คณะสงฑ์ลัทธิลังกาวงศ์ที่แพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ นั้น มักนิยมใช้สีมาน้ำและบวชที่โบสถ์บนแพ อันตั้งอยู่กลางแม่น้ำกัลยาณีในลังกา
ในประเทศไทยปัจจุบันเหลือโบสถ์น้ำอยู่เพียงไม่กี่แห่ง เช่น ที่วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดอยุธยา
ท่องเที่ยวสุดฮิตหัวหิน  ที่พักหัวหิน  เกาะเสม็ด  เกาะช้าง  เขาใหญ่  ทัวร์ต่างประเทศ!

ความเห็นที่ โพสเมื่อ : 2010-05-14 14:45:25  โดย : AeeM-Cool
 
เจดีย์เจ็ดยอดเชียงใหม่ (ซ้ายบน)
เจดีย์เจ็ดยอดอยู่ที่วัดโพธารามมหาวิหาร หรือเรียกกันทั่วไปว่าเจ็ดยอด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่องค์เจดีย์ก่อเป็นคูหาสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร มีช่องประตูโค้งสู่ด้านหน้าทางทิศตะวันออกในคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง ริมผนังซ้ายขวา มีช่องบันไดขึ้นสู่หลังคาได้ บนหลังคามียอดเป็นเจดีย์ ๕ องค์แบบเจดีย์ที่พุทธคยา องค์ใหญ่เป็นประธานอยู่กลาง มีเจดีย์ทรงกลมก่อด้วยศิลาแลงขนาดย่อมอีก ๒ องค์ที่ฐานเหลี่ยมมีลายปูนปั้นเป็นรูปเทพนม ยืนบ้างนั่งบ้าน เป็นศิลปะเชียงใหม่ที่งดงามแห่งหนึ่ง
ตามประวัติกล่าวว่า สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนา โดยโปรดเกล้าฯ ให้หมื่นด้ามพร้คด (ดำ) ไปจำลองแบบมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดียเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ และในปี พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราชโปรดเกล้าฯ ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นที่วัดนี้ และนับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ ของโลก

วิหารเมืองสะเมิง เชียงใหม่ (ขวาบน)
วิหารหลังนี้เป็นของเก่าแก่ที่เมืองสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ สะท้อนให้เห็นประเพณีนิยมของชาวบ้านชาวเมืองในล้านนาในการสร้างวิหารโถงด้วยไม้ที่ไม่ใหญ่โตจนกลายเป็นการข่มสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่สวยงามอย่างเช่น โบสถ์วิหารทั้งหลายในปัจจุบันภายในไม่มีพระประธาน แต่มีปราสาทขนาดเล็กก่ออิฐถือปูน มีหลายปูนปั้นประดับ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือพระบรมธาตุ อันเป็นสิ่งเคารพสูงสุดของชุมชนและท้องถิ่น
คติการสร้างปราสาทในวิหารโถงเช่นนี้ เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของล้านนาโบราณ ที่ไม่ใคร่พบเห็นในที่อื่น

เจดีย์จามเทวี ลำพูน (ซ้ายล่าง)
เจดีย์องค์นี้เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เจดีย์เหลี่ยมวัดกู่กุด สร้างในสมัยหริภุญไชยรูปทรงของเจดีย์มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๕ ชั้น มีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ในซ้อมทุกชั้น ๆ ละ ๑๒ องค์ เป็นพระพุทธรูปแบบผสมระหว่างศิลปะทวารวดีและศิลปะอู่ทอง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ บนซุ้มชั้นที่ ๕ ประดับด้วยบัวปูนปั้น เหนือขึ้นไปเป็นยอดหรือบัลลังก์ แบบผ้าอุตราสงค์พับซ้อนเป็นชั้น ยอดหักหายไป
ตามตำนานกล่าวว่า พระฤาษีได้สร้างเมื่อหริภุญไชยขึ้น แล้วส่งคนไปเชิญพระนางจามเทวีธิดากษัตริย์ละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญไชยขึ้น เป็นการสืบสายวงศ์กษัตริย์โบรารไว้พระนางจามเทวีเสด็จขึ้นมายังเมืองหริภุญไชยเมื่อ พ.ศ. ๑๒๐๔ ครองราชย์อายุนาน ๕๔ ปี

วัดจองคำลำปาง (ขวาล่าง)
ตามประเพณีคนไทยใหญ่หรือเงี้ยวในภาคเหนือ วัดสำคัญของบ้านเมืองมักชื่อว่า "วัดจองคำ" มีแทบทุกจังหวัดแถบภาคเหนือลักษณะเด่นของวัดไทยใหญ่ก็คือทั้งเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส เชื่อมต่อในอาคารหลังเดียวกันไม่ได้แยกส่วนกันเช่นวัดไทยในภาคกลาง
จัดจองคำแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่ตามแบบพุกามประเทศ เมืองโบราณได้ขอผาติกรรมจากวัดเดิม ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง อาคารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง วิหาร ศาลา และกุฏิ รวมอยู่ในชุดเดียวกันหมดหลังคาเป็นชั้น ๆ ซ้อนเป็นทรงสูง ต่อด้วยยอดหอทรงแปลก ฝีมือช่างสลักไม้ แสดงความองอาจในฝีมือประติมากรรมไทยเหนือเป็นอย่างยิ่ง
ท่องเที่ยวสุดฮิตหัวหิน  ที่พักหัวหิน  เกาะเสม็ด  เกาะช้าง  เขาใหญ่  ทัวร์ต่างประเทศ!

ความเห็นที่ โพสเมื่อ : 2010-05-14 14:47:19  โดย : AeeM-Cool
 
พระมหาธาตุเจดีย์ สุโขทัย (ซ้ายบน)
พระมหาธาตุเจดีย์ สุโขทัย อยุ่ในวัดมหาธาตุ อยู่ติดกับบริเวณวิหารหลวง และมีฐานพระศรีศากยมุนีอยู่เบื้องหน้า องค์พระมหาธาตุก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 20 เมตร มีรูปพระสาวกปูนปั้นเดินประนมมือประดับอยู่โดยรอบ มีบันไดขึ้นจากฐานถึงบัลลังก์บน เหนือบัลลังก์ก่อเป็นบัวคว่ำบัวหงาย ส่วนที่กล่าวมานี้ทำด้วยศิลาแลงถัดจากบัวหงายทำเป็นท้องไม้ย่อมุม มุมละห้าเหลี่ยม สูงขึ้นไปจนถึงยอดนั้น ๆ เป็นพุ่ีมข้าวพิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูมที่ฐานบัตูมมีซุ้มพระทั้ง ๔ ทิศ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ๓ ด้าน

คาลาร้องทุกข์ สุโขทัย (ขวาบน)
เมืองไทยสมัยสุโขทัย มีผู้คนน้อย แต่ที่ทำกินมีมาก อยู่กันอย่างสุขสบาย พระมหากษัตริย์ทรงใกล้ชิดกับประชาชน ประชาชนเรียกพระมหากษัตริย์ว่า พ่อขุน ทรงมีเวลาว่างพอที่จะสั่งสอนดูแลทุกข์สุขและตัดสินคดีความ ให้ยุติธรรมและความกรุณาปราณีด้วยพระองค์เอง
"ในปากประตูมีกะดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสานความแก่มันด้วยซี่อ"
ศาลาร้องทุกข์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเมืองโบราณได้สร้างขึ้นเป็นศาลาโถงทรงไทย หลังคามุงกระเบื้องเกร็ด ปั้นลมได้เค้าจาสังคโลกสมัยสุโขทัยประตูทำแบบโดรณตามลักษณะเสาประตูค่ายที่เก่าที่สุดที่ปรากฏอยู่ในจิตรกรรมฝาผนัง พร้อมกันแขวนกระดิ่งไว้หน้าประตูเพื่อให้สมดังที่ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๑ กล่าวไว้

เนินปราสาท สุโขทัย (ซ้ายล่าง)
เนินปราสาทอยู่บริเวณวัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่ ๔) เมื่อครั้งยังทรงผนวช ได้ธุดงค์ไปทางเมืองเหนือและได้พบ ๒ สิ่งสำคัญ คือศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกภาษาไทยที่เล่าถึงพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพระราชกิจของพระองค์ ศิลาจารึกหลักนี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคคร และได้พบแผ่นหินมีลายจำหลักเป็นกลีบบัวและลายบางอย่างประกอบกัน ทรงเชื่อว่าแผ่นหินนี้คือพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ที่พ่อขุนรามคำแหงฯ ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๕ เพื่อให้พระมหาเถระนั่งแสดงธรรมแก่ราษฎรในวันธรรมสวนะ ปัจจุบันพระแท่นนี้ได้รับการเก็บรักษาไว้ในวิหารยอดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ

ป้อมเมืองกำแพงเพชร (ขวาล่าง)
เมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง เป็นเมืองคล้ายเมืองแฝด ด้วยฝั่งตรงข้ามคือเมืองนครชุม ในสมัยอยุธยาเมืองกำแพงเพชรเรียกว่า เมืองชากังราว เป็นปราการสำคัญของอาณาจักรสุโขทัยทางทิศใต้
เมืองกำแพงเพชรมีป้อมและกำแพงเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ก่อสร้างด้วยศิลาแลง
เมืองโบราณได้สร้างป้อมเมืองกำแพงเพชรโดยถ่ายแบบมาจากป้อมเจ้าอินทร์นอกกำแพงมีคูกว้างลึกมีป้อม ๘ ป้อม สร้างประชิดติดกำแพง ๗ ป้อม อีกป้องหนึ่งอยู่ใกล้สะพานกำแพงเมือง บนกำแพงมีทางเดินกว้างพอสำหรับคนเดินหลีกกันได้สบาย ใต้ใบเสมากำแพงเมืองมีช่องปืนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ประตูเมืองมีทั้งหมด ๘ ประตู
ท่องเที่ยวสุดฮิตหัวหิน  ที่พักหัวหิน  เกาะเสม็ด  เกาะช้าง  เขาใหญ่  ทัวร์ต่างประเทศ!

ความเห็นที่ โพสเมื่อ : 2010-05-14 14:49:03  โดย : AeeM-Cool
 
วิหารสุโขทัย (ขวาบน)
เมืองโบราณได้สร้างวิหารสุโขทัยขึ้นโดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีคือ ลักษณะแผนผังของพระวิหาร ได้แบบอย่างมาจากวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก โดยเปรียบเทียบกับผังของวัดนางพญา เมืองศรีสัชชนาลัย แล้วผสมผสานให้เป็นแบบดั้งเดิมขึ้นลวดลายการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกวิหารเป็นลวดลายที่ค้นแบบอย่างได้จากสุโขทัย ศรีสัชชนาลัยและเชียงแสน เครื่องประดับหลังคา รวมทั้งกระเบื้องปูพื้นได้แบบอย่างจากเครื่องสังคโลกที่เมืองศรีสัชชนาลัย องค์พระประธานถอดแบบมาจากพระพุทธรูปปางลีลา วัดตระพังทองหลางสุโขทัย ซุ้มกรอบที่ตั้งพระประธานได้แบบมาจากซุ้มเจดีย์ที่วัดป่าสัก เชียงแสน สดมภ์หัวเสารูปกลีบบัวได้แบบอย่างมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ลายประดับกำแพงได้แบบมาจากวัดนางพญา และภายในวิหารมีภาพจำหลังตามแบบภาพจำหลักหินชนวนอย่างในอุโมงค์พระวิหารวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย
วิหารแห่งนี้จึงเป็นที่รวบรวมลักษณะเฉพาะของศิลปะสุโขทัยไว้โดยครบถ้วน

ประตูวัดโพธิ์ประทับช้าง พิจิตร (ซ้ายล่าง)
เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๒๐๔ สมเด็จพระนารายณ์มหารายทรงยกทัพไปปราบปรามเมืองเชียงใหม่จนได้ชัยชนะ และได้พระราชธิดาเมืองเชียงใหม่มาเป็นบาทบริจาริกา ระหว่างยกกองทัพกลับราว พ.ศ. ๒๒๐๕ พระสนมตั้งครรภ์ สมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก โปรดเกล้าฯ ให้พระนสมจากเชียงใหม่ตามเสด็จด้วย เมื่อเดินทางถึงตำบลโพธิ์ประทับช้าง ก็พอดีครรภ์ครบถ้วนทศมาส พระสนมจึงคลอดบุตรเป็นชายชื่อนายเดื่อ
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๔๖ นายเดื่อหรือขุนหลวงสรศักดิ์ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า "พระเจ้าเสือ" หลังจากครองราชย์แล้วก็ทรงสร้างวัดตรงสถานที่ประสูติ ณ ตำบลโพธิ์ประทับช้างแห่งนี้

พระธาตุสามหมื่น ชัยภูมิ (ขวาล่าง)
พระธาตุสามหมื่นหรือพระธาตุบ้านแก้ง อยู่ใกล้กับซากเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่ตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียวจังหวัดชัยภูมิ ลักษณะของพระธาตุมีเค้าศิลปะศรีวิชัย ก่อด้วยอิฐ ฐานชั้นล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๑๒ เมตร ถัดฐานชั้นล่างขึ้นไปเป็นฐานย่อมุมไม้สอบสองรวม ๕ ชั้น แล้วถึงเรือนธาตุ ซึ่งมีซุ้มทิศประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ๔ ด้าน เหนือเรือนธาตุทำเป็นเจดีย์บริวาร ๔ ทิศ ซ้อนกัน ๒ ชั้น แล้วถึงเจดีย์องค์ประธานเป็นยอดสุดรูปสัณฐานการก่อสร้างของเจดีย์องค์ประธานและเจดีย์บริวารคล้ายกับพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้างหน้าพระธาตุเจดีย์องค์นี้มีบึงสามหมื่นเข้าใจว่าแต่เดิมจะเป็นลำน้ำมาก่อน แล้วตื้นเขินเสีย จึงกลายเป็นลำบึงไป
เมืองโบราณได้สร้างพระธาตุสามหมื่นขึ้นเท่าขนาดองค์จริง
ท่องเที่ยวสุดฮิตหัวหิน  ที่พักหัวหิน  เกาะเสม็ด  เกาะช้าง  เขาใหญ่  ทัวร์ต่างประเทศ!

ความเห็นที่ โพสเมื่อ : 2010-05-14 14:50:32  โดย : AeeM-Cool
 
พระธาตุพนม นครพนม (ซ้ายบน)
พระธาตุพนมเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยและชาวลาวนับถือกันมาแต่โบราณเชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐาน พระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า อยู่ที่วัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม องค์เดิมจะมีลักษณะอย่างใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่องค์ที่เป็นรากฐานของลักษณะที่ปรากฏทุกวันนี้เป็นองค์ที่พระยาสุมิตรธรรมและเจ้านครอื่น ๆ จัดการสถาปนาขึ้นตรงที่ตั้งของพระธาตุองค์เดิม ลักษณะลายจำหลักบนแผ่นอิฐประดับพระธาตุพนมเป็นของช่างฝีมืออินเดียคล้ายศิลปะแบบอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๐) ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชผู้ครองนครเวียงจันทน์ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อเสริมองค์พระธาตุพนมตอนบนเป็นรูปคล้ายลุ้งคว่ำสูงขึ้นไปอีก
พระธาตุพนมในเมืองโบราณได้ก่อสร้างขึ้นตามรูปแบบเดิม ก่อนที่จะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยกรุงเทพฯ

ปราสาทหินหนองกู่ ร้อยเอ็ด (ขวาบน)
ปราสาทหินหนองกู่อยู่ที่บ้านยางคู่ ตำบลมะอี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตัวปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง ๕.๑๐ เมตร มีประตูเข้าออกทางด้านทิศตะวันออก ส่วนทางด้านอื่น ๆ เป็นประตูหลอก หน้าประตูทางด้านทิศตะวันออก ทำเป็นมุขยื่นยาวออกมา ๓.๒๗ เมตร กว้าง ๑.๔๕ เมตร ตัวกำแพงก่อด้วยแลงขนาดกว้าง ๒๓.๓๐ เมตร ยาว ๓๕ เมตร ซุ้มประตูด้านหน้าทำเป็นรูปกากบาท
ปราสาทแห่งนี้เข้าใจว่าเคยเป็นพุทธสถานมาก่อนลักษณะเป็นฝีมือช่างพื้นเมิง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ เมืองโบราณได้สร้างปราสาทหินหนองกู่ขึ้นให้มีขนาดเท่ากับองค์จริง

ปราสาทศรีขรภูมิ สุรินทร์ (ซ้ายล่าง)
ปราสาทศรีขรภูมิ เป็นกลุ่มปราสาทอิฐ ๕ หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันอย่างได้สัดส่วน แต่ก่อนเรียกกันว่าปราสาทบ้านระแงง ถือกันว่าเป็นสัญญาลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ แต่เดิมเป็นอาคารในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นเมืองราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗ สังเกตได้จากทับหลังของปราสาทองค์กลาง ที่สลักเป็นรูป ศิวนาฏราช ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้เป็น พระสถูปทาง พุทธศาสนาแทน
ลักษณะเด่นทางศิลปะสถาปัตยกรรมของปราสาทศรีขรภูมิก็คือ ถ้ายืนอยู่หน้าปราสาทในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว จะแลเห็นประตูของปราสาท ทั้ง ๕ หลังพร้อมกันทั้งหมด

วิหารทวารวดี (ขวาล่าง)
อาณาจักรทวารวดีนั้น เป็นเสมือนศูนย์กลางแห่งการนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีการสร้างงานศิลปะเนื่องในพุทธศาสนา จนเกิดรูปแบบทางศิลปะที่เรียกว่า "ทวารวดี" ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ วิหาร เจดีย์ พระพุทธรูป แล้วล้วนมีขนาดใหญ่ ศิลปะแบบทวารวดีนี้คงได้แพร่กระจายจากนครปฐม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีไปยังบ้านเมืองอื่น ๆ ทั้งภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคอีสาน
เมืองโบราณ จึงได้สร้างวิหารทวารวดีขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมและศิลปะทวารวดีเคยเจริญรุ่งเรืองในดินแดนภาคอีสานมาแล้วเมื่อครั้งอดีตกาล
ท่องเที่ยวสุดฮิตหัวหิน  ที่พักหัวหิน  เกาะเสม็ด  เกาะช้าง  เขาใหญ่  ทัวร์ต่างประเทศ!

ความเห็นที่ โพสเมื่อ : 2010-05-14 14:52:56  โดย : AeeM-Cool
 
มณฑปพระพุทธบาท สระบุรี (ซ้ายบน)
มณฑปพระพุทธบาท เป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา เป็นมณฑปฐานสูงสร้างความคร่อมรอยพระพุทธบาท ซึ่งอยู่บนยอดเขาพระพุทธบาท สระบุรี ตามตำนานเล่าว่า พรานบุญ ซึ่งขึ้นไปล่าเนื้อบนไหล่เขาได้ไปพบแอ่งน้ำซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาท สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทราบเรื่องก็เสด็จมาทอดพระเนตร ก็รู้ชัดว่าเป็นรอยพระพุทธบาทตรงตามที่พระสงฆ์ฝ่ายลังกาได้อ้างไว้ในคัมภีร์
เมืองโบราณได้สร้างมณฑปพระพุทธบาทขึ้น โดยยึดถือข้อมูลจากนิราศพระบาทของสุนทรภู่และปุณโณวาท คำฉันท์ของพระมหานาค วัดท่าทรายการตกแต่งภายในมณฑป โดยเฉพาะการประดับกระจกเงาบนผนังและเพดานถือจากหลักฐานที่กล่าวไว้ในจดหมายเหตุขุนโขลน ส่วนรอยพระพุทธบาทนั้นได้รับมอบจาก ฯพณฯ ประธานาธิบดีอินเดีย

พระที่นั่งจอมทอง อยุธยา (ขวาบน)
พระที่นั่งจอมทองเป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งอยู่ในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นสมัยใด แต่ต่อมาได้กลายเป็นหอมณเฑียรธรรมไป
พระที่นั่งจอมทองนั้นเป็นฝีมือการก่อสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย สมัยหลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราชลงมา ด้วยก่อเป็นตึก มีการเจาะหน้าต่างถี่ สันนิษฐานว่าพระที่นั่งจอมทองเดิมอาจจะเป็นไม้ หรือถ้าก่อเป็นตึกก็มีขนาดเล็กไม่กว้างขวางพอสำหรับจะประชุมคณะสงฆ์ในการแปลพระไตรปิฎกหรือประชุมปรึกษาข้อธรรมอันลึกซึ้งที่ไม่อาจยุติกันได้ง่าย ดังนั้นหลังจากรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมลงมาจึงได้รื้อหลังเดิมลงจนหมดแล้วสร้างขึ้นใหม่หลังจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ให้ใหญ่โตโอ่อ่ายิ่งกว่าเดิม

พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท อยุธยา (ซ้ายล่าง)
สรรเพชญปราสาท เป็นพระที่นั่งโบราณสมัยอยุธยาตอนต้น ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยหนีจากอิทธิพลของสถาปัตยกรรมขอมและไทยเหนือ ดังนั้นพระที่นั่งองค์นึงเป็นที่รวมความเป็นเอกลักษณืของศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยาเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งแต่ฐาน เสา ลวดลายประดับ ซุ้มพระทวาร พระบัญชร หลังคาและเครื่องยอด
พระที่นั่งสรรเพชฐปราสาทใช้เป็นที่ประกอบพิธีและรับแขกเมืองของพระมหากษัตริย์ ต่อมาเมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ถูกพม่าเอาไฟเผาทิ้ง ทั้งองค์เหลือแต่ซากฐาน
เมืองโบราณได้สร้างพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทขึ้น โดยค้นคว้าจากหลักฐานดั้งเดิมทั้งของไทยและต่างชาติเช่น จดหมายเหตุ ตำนานพระราชพงศาวดาร ประกอบกับหลักฐานที่เหลือให้เห็นอย่างคร่าว ๆ โดยมากำหนดเป็นผังขึ้น ประกอบกับหลักฐานจากภาพเขียน ไม้สลัก และโบราณวัตถุสมัยอยุธยา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงใช้พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ณ เมืองโบราณ รับรองเสด็จพระนางเจ้าอลิชาเบธที่ ๒ และพระราชสวามีเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งในวันนั้นได้ถือเป็นสิริมงคลและเป็นเสมือนวันเปิดเมืองโบราณต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการด้วย

วิหารพระศรีสรรเพชญ อยุธยา (ขวาล่าง)
วิหารพระศรีสรรเพชญ อยู่ในบริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ อันเป็นเขตพุทธาวาสในเขตพระราชวังหลวง กรุงศรีอยุธยา เป็นวิหารใหญ่ขนาด ๙ ห้อง ก่ออิฐถือปูนสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒) เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อปางประทับยืนองค์หนึ่งซึ่งหุ้มด้วยทองคำหนัก ๓๔๖.๕ กิโลกรัม (๒๘๖ ชั่ง) มีพระนามว่า "พระศรีสรรเพชญ"
ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ทหารพม่าได้เอาไฟเผาลอกทองคำที่หุ้มองค์พระไปจนหมดเหลือแต่ซาก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชประสงค์ที่จะบูรณะพระศรีสรรเพชญให้ดีดังเดิม แต่องค์พระชำรุดละลายเหลือที่จะปฏิสังขรณ์ได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำซากมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ทรงสร้างขึ้นในวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ แล้วพระราชทานนามว่า "พระเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ"
ท่องเที่ยวสุดฮิตหัวหิน  ที่พักหัวหิน  เกาะเสม็ด  เกาะช้าง  เขาใหญ่  ทัวร์ต่างประเทศ!

ความเห็นที่ โพสเมื่อ : 2010-05-14 14:53:37  โดย : AeeM-Cool
 
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท กรุงเทพฯ
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นพระที่นั่งองค์สำคัญใช้เป็นท้องพระโรงว่าราชการที่ประทับและที่ประกอบกพระราชพิธีสำคัญ ๆ ของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๙ เป็นปราสาททรงจตุรมุข สูงใหญ่เท่ากับพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ครั้งพระนครศรีอยุธยาโดยสร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอินทราภิเษกเดิมซึ่งต้องอสุนีบาตไฟไหม้ทั้งหลัง นับเป็นปราสาททรงไทยแท้ที่เหลืออยู่สมบูรณ์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
การสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในเมืองโบราณ ได้จากการรวบรวมค้นคว้าหลักฐานจากรูปภาพ จดหมายเหตุ พงศาวดาร ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ภายในพระที่นั่งที่ฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพเขียนเรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้รู้ถึงพระราชพิธีต่าง ๆ อันเนื่องในการปกครอง ศาสนา และความเป็นอยู่ของเมืองไทยสมัยก่อน และที่ฝาผนังเหนือช่องหน้าต่างเป็นภาพเขียนเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ ๑ ในด้านต่าง ๆ ทั้งการปกครอง การศาสนา การสงครามและการติดต่อกับต่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น