วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักการ กระบวนการทำงานพัฒนาชุมชน





ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักการ กระบวนการทํางานพัฒนาชุมชน

1. ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักการ กระบวนการทํางานพัฒนาชุมชน 

    1.1 ปรัชญาพัฒนาชุมชน 
          พัฒน์  บุณยรัตพันธุ์ (2517 : 1 - 2) ได้กล่าวถึงหลักปรัชญามูลฐานของงานพัฒนาชุมชน ไว้ดังนี้
          1.  บุคคลแต่ละคนย่อมมีความสําคัญและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน จึงมีสิทธิอันพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรม  และอย่างบุคคลมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนอันหนึ่ง
          2.  บุคคลแต่ละคนย่อมมีสิทธิ และสามารถที่จะกําหนดวิถีการดํารงชีวิตของตน ไปในทิศทางที่ตนต้องการ
          3.  บุคคลแต่ละคนถ้าหากมีโอกาสแล้ว  ย่อมมีความสามารถที่จะเรียนรู้  เปลี่ยนแปลงทัศนะ ประพฤติปฎิบัติและพัฒนาขีดความสามารถให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงขึ้นได้
          4. มนุษย์ทุกคนมีพลังในเรื่องความคิดริเริ่ม ความเป็นผู้นํา และความคิดใหม่ๆซึ่งซ่อนเร้นอยู่ และพลังความสามารถเหล่านี้สามารถเจริญเติบโต  และนําออกมาใช้ได้ถ้าพลังที่ซ่อนเร้นเหล่านี้ได้รับการพัฒนา
          5. การพัฒนาพลังและขีดความสามารถของชุมชนในทุกด้านเป็นสิ่งที่พึ่งปรารถนา และมีความสําคัญยิ่งต่อชีวิตของบุคคล ชุมชน และรัฐ

           ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าปรัชญาของการพัฒนาชุมชนนั้น
           ประการแรก  ตั้งอยู่บนรากฐานอันมั่นคงแห่งความศรัทธาในตัวคนว่าเป็นทรัพยากรที่มีความหมายและสําคัญที่สุด มนุษย์ทุกคนมีความสามารถ
           ประการที่สอง  การพัฒนาชุมชน  ก็คือ  ความศรัทธาในเรื่องความยุติธรรมของสังคม (Social  Justice)  การมุ่งขจัดความขัดแย้งและความเหลื่อมล้าต่าสูงที่เห็นได้ชัดในหมู่มวลชนนั้น เป็นเรื่องที่อารยะสังคมพึงยึดมั่น
           ประการสุดท้าย  ความไม่รู้  ความดื้อดึง  และการใช้กําลังบังคับเป็นอุปสรรคที่สําคัญยิ่งต่อความสําเร็จของการพัฒนา  และความเจริญรุดหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยวิธีการให้การศึกษาเท่านั้น  การให้การศึกษาและให้โอกาสจะช่วยดึงพลังซ่อนเร้นในตัวคนออกมาใช้ให้เป็นประโยชน?ต่อส่วนรวม  และการพัฒนาจะมีประสิทธิภาพได้ก็จะต้องยึดหลักการรวมกลุ่ม  และการทํางานกับกลุ่ม เพราะมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และทํางานรวมกันเป็นกลุ่ม จะช่วยให้คนได้เจริญเติบโตโดยเร็วที่สุด

            ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2534 : 5) ได้กล่าวถึงปรัชญาของการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย
            1.  การพัฒนาชุมชนนั้นให้ความศรัทธา  เชื่อมั่นในตัวบุคคลว่าเป็นทรัพยากร (Human Resources) ที่มีความสําคัญที่สุดในความสําเร็จของการดําเนินงานทั้งปวง และเชื่ออย่างแน่วแน่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะพัฒนาตัวเองได?ตามขีดความสามารถทางกายภาพของตน หากโอกาสอํานวยและมีผู้คอยชี้แนะที่ถูกทาง
            2.  การพัฒนาชุมชนเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนปรารถนา  ต้องการความยุติธรรมที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคม (Social  Justice)  ต้องการอยู่ในสังคมด้วยความสุขกาย  สบายใจ (Social Satisfaction) และต้องการอยู่ร่วมในสังคมให้เป็นที่ยอมรับของสังคมด้วย (Social Acceptability)

            ทนงศักดิ์   คุ้มไข่น้ำและคณะ (2534 : 6) ได้กล่าวถึงปรัชญาการพัฒนาชุมชน ไว้ว่า
            การพัฒนาชุมชนมีหลักปรัชญาอันเป็นมูลฐานสําคัญ ดังนี้
            1.  มนุษย์ทุกคนมีพลังในเรื่องความคิดริเริ่ม  และความเป็นผู้นําซ่อนเร้นอยู่ในตัว พลังเหล่านี้สามารถเจริญเติบโต และนําออกมาใช้ได้ ถ้าได้รับการพัฒนา
            2.  บุคคลและคนถ้าหากมีโอกาสแล้ว  ย่อมมีความสามารถที่จะเรียนรู้  เปลี่ยนแปลงทัศนะ ประพฤติปฏิบัติและพัฒนาขีดความสามารถให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงขึ้นได้
            3.  บุคคลแต่ละคนย่อมมีความสําคัญและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน จึงมีสิทธิอันพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรมอย่างบุคคลมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนผู้หนึ่ง
            4. บุคคลแต่ละคนย่อมมีสิทธิ และสามารถที่จะกําหนดวิถีการดํารงชีวิตของตนไปในทิศทางที่ตนต้องการ
            5.  การพัฒนาพลังและขีดความสามารถของคนในชุมชนทุกด้าน  เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา และมีความสําคัญยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกคนและชุมชนโดยส่วนรวม

            กรมการพัฒนาชุมชน (2538) ได้กล่าวสรุป ปรัชญางานพัฒนาชุมชน มีความเชื่อว่า
            1.  มนุษย์ทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีในความเป็นคน
            2.  มนุษย์ทุกคนมีความสามารถ หรือมีศักยภาพ
            3.  ความสามารถของมนุษย์สามารถพัฒนาได้ถ้ามีโอกาส  


      1.2 แนวความคิดพื้นฐานในการพัฒนาชุมชน 
             การศึกษาแนวความคิดพื้นฐานของงานพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้พัฒนากรสามารถทํางานกับประชาชนได้อย่างถูกต้อง  และทําให้งานมีประสิทธิภาพ  แนวคิดพื้นฐาน ในการพัฒนาชุมชนในระดับการปฏิบัติ มีดังนี้
             1.  การมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) เป็นหัวใจของงานพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักของการมีส่วนร่วมที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจวางแผนงาน การปฏิบัติการและร่วมบํารุงรักษา
             2.  การช่วยเหลือตนเอง (Aided Self - Help) เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยึดเป็นหลักการสําคัญประการหนึ่ง คือ ต้องพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยมีรัฐคอยให้การช่วยเหลือ  สนับสนุน  ในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน  ตามโอกาสและหลักเกณฑ?ที่เหมาะสม
             3.  ความคิดริเริ่มของประชาชน (Initiative) ในการทํางานกับประชาชนต้องยึดหลักการที่ว่า  ความคิดริเริ่มต้องมาจากประชาชน  ซึ่งต้องใช?วิถีแห่งประชาธิปไตย  และหาโอกาสกระตุ้นให้การศึกษา  ให้ประชาชนเกิดความคิด  และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเป็น ประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ตําบล
             4.  ความต้องการของชุมชน (Felt - Needs) การพัฒนาชุมชนต้องให้ประชาชน และองค์กรประชาชนคิดและตัดสินใจบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนเอง  เพื่อให้เกิดความคิดที่ว่างานเป็นของประชาชน และจะช่วยกันดูแลรักษาต่อไป
             5.  การศึกษาภาคชีวิต (Life - Long Education) งานพัฒนาชุมชนถือเป็นกระบวนการให้การศึกษาภาคชีวิตแก่ประชาชน  เพื่อนําไปสู่การพัฒนาคน  การให้การศึกษา ต้องให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องกันไป ตราบเท่าที่บุคคลยังดํารงชีวิตอยู่ในชุมชน 


        1.3 หลักการดําเนินงานพัฒนาชุมชน  จากปรัชญาและแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาชุมชนได้นํามาใช้เป็นหลักในการดําเนินงานพัฒนาชุมชน ดังต่อไปนี้
             1.  ยึดหลักความมีศักดิ์ศรี และศักยภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้มากที่สุด  นักพัฒนาต้องเชื่อมั่นว่าประชาชนนั้นมีศักยภาพที่จะใช้ความรู้ ความสามารถที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองได้ จึงต้องให้โอกาสประชาชนในการคิด วางแผน เพื่อแก้ปัญหาชุมชนด้วยตัวของเขาเอง นักพัฒนาควรเป็นผู้กระตุ้น แนะนํา ส่งเสริม
             2.  ยึดหลักการพึ่งตนเองของประชาชน นักพัฒนาตองยึดมั่นเป็นหลักการสําคัญว่าต้องสนับสนุนให้ประชาชนพึ่งตนเองได้  โดยการสร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชน ส่วนรัฐบาลจะช่วยเหลือ  สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง  และช่วยเหลือในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน
             3.  ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด ตัดสินใจ วางแผน ปฏิบัติตามแผน และติดตามประเมินผลในกิจกรรม หรือโครงการใด ๆ ที่จะทําในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการดําเนินงาน อันเป็นการปลูกฝังจิตสํานึกในเรื่องความเป็นเจ้าของโครงการ หรือกิจกรรม
             4.  ยึดหลักประชาธิปไตย ในการทํางานพัฒนาชุมชนจะต้องเริ่มด้วยการพูดคุย ประชุม ปรึกษาหารือร่วมกัน คิดร่วมกัน ตัดสินใจ และทําร่วมกัน รวมถึงรับผิดชอบร่วมกัน ภายใต้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย

             องค์การสหประชาชาติ ได้กําหนดหลักการดําเนินงานพัฒนาชุมชนไว้ 10 ประการ  คือ
             1.  ต้องสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
             2.  ต้องเป็นโครงการเอนกประสงค์ที่ช่วยแก้ปัญหาได้หลายด้าน
             3.  ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติไปพร้อม ๆ กับการดําเนินงาน
             4.  ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
             5.  ต้องแสวงหาและพัฒนาให้เกิดผู้นําในท้องถิ่น
             6.  ต้องยอมรับให้โอกาสสตรี และเยาวชนมีส่วนร่วมในโครงการ
             7.  รัฐต้องเตรียมจัดบริการให้การสนับสนุน
             8.  ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพทุกระดับ
             9.  สนับสนุนให้องค์กรเอกชน อาสาสมัครต่างๆ เข้ามีส่วนร่วม
             10.ต้องมีการวางแผนให้เกิดความเจริญแก่ชุมชนที่สอดคล้องกับความเจริญในระดับชาติด้วย 


       1.4 กระบวนการทํางานพัฒนาชุมชน การปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่ต้องทําอย่างต่อเนื่อง  เป็นกระบวนการ  ดังนี้
             1. การศึกษาชุมชน เป็นการเสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของชุมชนที่แท้จริง  วิธีการในการศึกษาชุมชนอาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกัน ทั้งการสัมภาษณ์ การสังเกต การสํารวจ และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด กลวิธีที่สําคัญที่นักพัฒนาต้องใช้ในขั้นตอนนี้ คือ  การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน เพราะถ้าหากปราศจากสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพัฒนากรกับชาวบ้านแล้วเป็นการยากที่จะได้รู้และเข้าใจปัญหาความต้องการจริงๆ ของชาวบ้าน ความสัมพันธ์อันดี จนถึงขั้นความสนิทสนมรักใคร่ ศรัทธา จึงเป็นสิ่งที่จําเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน
             2. การให้การศึกษาแก่ชุมชน เป็นการสนทนา วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับประชาชน เป็นการนําข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากขั้นตอนการศึกษาชุมชน มาวิเคราะห์ถึงปัญหาความต้องการและ สภาพที่เป็นจริง  ผลกระทบ  ความรุนแรง  และความเสียหายต่อชุมชน กลวิธีที่สําคัญในขั้นตอนนี้ คือ การกระตุ้นให?ประชาชนได้รู้ เข้าใจ และตระหนักในปัญหาของชุมชน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ การจัดเวทีประชาคม เพื่อค้นหาปัญหาร่วมกันของชุมชน
             3.  การวางแผน / โครงการ เป็นขั้นตอนให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ และกําหนดโครงการ เป็นการนําเอาปัญหาที่ประชาชนตระหนัก และยอมรับว่าเป็นปัญหาของชุมชนมาร่วมกัน หาสาเหตุ แนวทางแก้ไข และจัดลําดับความสําคัญของปัญหา และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจที่ จะแก้ไขภายใต้ขีดความสามารถของประชาชน  และการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก กลวิธีที่สําคัญในขั้นตอนนี้ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขปัญหา วิธีการวางแผน การเขียนโครงการ โดยใชเทคนิคการวางแผนแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วม
             4.  การดําเนินงานตามแผนและโครงการ โดยมีผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามแผนและโครงการที่ได้ตกลงกันไว?  กลวิธีที่สําคัญในขั้นตอนนี้  คือ  การเป็นผู้ช่วยเหลือ สนับสนุนใน 2 ลักษณะ คือ
                  4.1   เป็นผู้ปฏิบัติงานทางวิชาการ เช่น แนะนําการปฏิบัติงาน ให้คําปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
                  4.2   เป็นผู้ส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
              5.  การติดตามประเมินผล เป็นการติดตามความก้าวหน้าของงานที่กําลังดําเนินการตามโครงการ เพื่อการปรับปรุงแก้ไขปัญหา  อุปสรรคที่พบได้อย่างทันท่วงที  กลวิธีที่สําคัญในขั้นตอนนี้  คือ  การติดตามดูแลการทํางานที่ประชาชนทํา  เพื่อทราบผลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค แล้วนําผลการปฏิบัติงานตามโครงการ หรือกิจกรรมไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ สามารถกระทําได้โดย
                   5.1   แนะนําให้ผู้นําท้องถิ่นหรือชาวบ้าน ติดตามผลและรายงานผลด้วย ตนเอง เช่น รายงานด้วยวาจา รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
                   5.2   พัฒนากรเป็นผู้รายงานผลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง เช่น รายงานด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาและผ้เกี่ยวข้อง เสนอผลการปฏิบัติงานต่อที่ประชุม ทําบันทึกรายงาน ตามแบบฟอร์มต่างๆ ของทางราชการ  


บรรณานุกรม

                   กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. 2538. หลักสูตรนักพัฒนาชุมชนก่อนประจําการ(สําหรับผู้เข้าอบรมที่เป็น อสพ.) ฉบับปรับปรุง. (เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม)
                   ทนงศักดิ์   คุ้มไข่น้ำ, บุญศรี   แกวคําศรี, โกวิทย์ พวงงาม, ปรีดี   โชติช่วง. 2534. การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติ. บพิธการพิมพ์.
                   พัฒน์  บุณยรัตพันธุ์. 2517. การสร้างพลังชุมชนโดยขบวนการพัฒนาชุมชน
                   ยุวัฒน์  วุฒิเมธี. 2534. การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บางกอกบล็อก.
                   ชรินทร์  อาสาวดีรส และคณะ. 2546. ชุดการเรียนด้วยตนเอง หลักสูตรนักบริหารงานพัฒนาชุมชนระดับต้น (นพต.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น