วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ลายไทยเบื้องต้น


                                                                        ลายไทยเบื้องต้น



กระจังฟันปลา 
  • ผันปลา หรือกระจังฟันปลา ทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีรูปเป็นสามเหลี่ยมยอดเรียวแหลม เป้นที่มาของกระจังตาอ้อย หรือกระจังใบเทศ ถือเป็นกระจังตัวต้นหรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่าเป็นตัวอย่างของกระจังใบเทศ และกระจังตาอ้อยก็ได้ เพราะว่าเมื่อเขียนบัวหงายหรือบังคว่ำ เมื่อย่อเล็กที่สุดก็ใช้กระจังฟันปลาแทน กระจังฟันปลาเป็นลายติดต่อได้ทั้งซ้าย และขวา (กระจังฟันปลามีซ้อน หนึ่ง-สอง-สามฯ แต่ในที่นี้จะใช้เฉพาะเรื่องการใช้ลายเท่านั้น)

กระจังตาอ้อย


  • ตาอ้อย หรือกระจังตาอ้อย ทรงตัวอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีทรงตัวเส้นอ่อนเรียวทั้งซ้าย และขวาปลายยอดแหลมมีบาก (คือหยัก) ทั้งสองข้าง เมื่ออยู่เฉพาะตัวเดี่ยวๆเรียกว่าตาอ้อย เมื่อเข้าประกอบเป็นลายติดต่อซ้ายและขวา เช้น เขียนเป็น ลายบัวหงายบัวคว่ำเป็นตัวอย่างของใบกระจังเทศ เช่นเดียวกับ กระจังฟันปลา แต่เป็นตัวย่อตัวที่สองรองจากกระจังฟันปลา เป็นลายติดต่อซ้ายและขวา
กระจังใบเทศ 
  • กระจังใบเทศมีทรงภายนอกอ่อนเรียวเหมือนกระจังตาอ้อย อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าเช่นเดียวกัน แต่ภายในตัวมีสอดไส้แต่ หนึ่ง-สอง-สาม ขึ้นไป กระจังใบเทศมีวิธีแบ่งตัวได้ หรือสอดไส้ได้หลายวิธี เมื่อตัวยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งแบ่งตัวมากขึ้น และใส่ตัวซ้อนมากขึ้น การแบ่งจังหวะรอบตัวของกระจังใบเทศนี้ เรียกว่า “แข้งสิงห์” เมื่อตัวกระจังใบเทศใบยิ่งโตขึ้นเท่าใด แข้งสิงห์ก็จำต้องแบ่งตัวตามขึ้นไปด้วย การแบ่งแข้งสิงห์ให้เป็นลำดับติดต่อกันไม่ได้ ก็เท่ากับเขียนกระจังใบเทศไม่เป็น
วิธีแบ่งแข้งสิงห์ 
  • ทรงของแข้งสิงห์อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุม หรือยาวกว่ารูปสี่เหลี่ยมทแยงมุมเล็กน้อย แต่ต้องไมแคบกว่าสี่เหลี่ยมทแยงมุม วิธีแบ่งแข้งสิงห์ตามลำดับ(ดูแบบ)
  • ตัวหนึ่งมีบาก
  • ตัวที่สองมีบากและมีขมวด
  • ตัวที่สามและตัวที่สี่มีสอดไส้และบาก
  • ตัวห้ามีขมวดและแบ่งสิงห์ซ้อน
  • ตัวหกมีกาบอ่อน(แข้งสิงห์ตัวต้น) ละมีสอดไส้ และมีแข้งสิงห์ซ้อนแข้งสิงห์
  • ตัวเจ็ดเป็นวิธีแบ่งแข้งสิงห์ตัวที่สุด
  • เมื่อถึงยอดก็ต้องทำยอดสบัดเป้นตัวกนก (ตัวหนึ่งไม่ได้แสดงเอาไว้เมื่อเอาไว้ขมวดตัวสองออกก็เป็นตัวที่หนึ่ง)
กระจังหู กระจังหูหรือกระจังปฏิญาณ มีทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างสองส่วน สูงสามส่วน(ดูแบบ)ตอนบนมีทรงเหมือนกระจังใบเทศ แล้วต่อก้านลงมาอีกครึ่งส่วนซ้ายและขวา มีตาอ่อนหรือกระจังใบเทศห้าม แต่ภายในตอนล่างมีกาบทั้งซ้ายและขวา เช่นเดียวกับกระจังใบเทศ วิธีแบ่งตัวมีเป็นลำดับคล้ายกระจังใบเทศ ตัวโตขึ้นก็มีการแบ่งตัวมากขึ้นไปกระจังรวน

  • กระจังรวน มีส่วนเหมือนกระจังหูทุกส่วน ตลอดจนแบ่งตัวทุกอย่างเหมือนกันทั้งหมด แต่ใช้ยอดลงปลายยอด(ยอดเฉ)ยอดบัดไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ เป็นลายติดต่อซ้ายขวา
กระจังหูหรือกระจังปฏิญาณ มีทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างสองส่วน สูงสามส่วน(ดูแบบ)ตอนบนมีทรงเหมือนกระจังใบเทศ แล้วต่อก้านลงมาอีกครึ่งส่วนซ้ายและขวา มีตาอ่อนหรืพุ่มทรงข้าวบิณฑ 
  • ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ มีส่วนกว้างสองส่วน สูงสามส่วน วิธีเขียน สองส่วนตอนบนเขียนอย่างใบกระจังเทศแต่ให้สั้น เอายอดลงต่อกับตอนบน เท่ากับเขียนกระจังใบเทศสองตัวกัน รอบตัวของพุ่มทรงข้าวบิณฑ มีแบ่งแข้งสิงห์เหมือนกับกระจังเทศ แต่ตอนที่แข้งสิงห์ต่อกัน ระหว่างตอนบนกับตอนล่างน้นใส่ตัวห้าม พุ่มทรงข้าวบิณฑใช้เป็นี่ออกลายเป็นลายดอกลอย และยังใช้เข้าประกอบกับลายอื่นๆ ได้อีก
กระจังใบเทศห้าม แต่ภายในตอนล่างมีกาบทั้งซ้ายและขวา เช่นเดียวกับกระจังใบเทศ วิธีแบ่งตัวมีเป็นลำดับคล้ายกระจังใบเทศ ตัวโตขึ้นก็มีการแบ่งตัวมากขึ้นไป ประจำยาม 
  • ลายประจำยาม ทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุม ประกอบด้วยวงกลมกับตัวกระจังใบเทศ ถ้าเป็นตัวย่อเล็กก้ใช้กระจังตาอ้อนแทน ลายประจำยาม ไม่เฉพาะแต่ใช้กระจังใบเทศ จะใช้กระจังหู พุ่มทรงข้าวบิณฑก็ได้ ลายประจำยามอยู่ในจำพวกดอกลอยและใช้เป้นแม่ลาย คือที่ออกลายหรือใช้เป็นที่ห้ามลาย
รักร้อย 
  • ลายรักร้อยประกอบด้วย ลายประจำยามและกระจังใบเทศ หรือกระจังตาอ้อยลายรักร้อย ใช้ลายประจำยามเป็นที่ออกลาย เอากระจังใบเทศหรือกระจังตาอ้อยเรียงต่อกันไปทั้งซ้ายและขวาจนถึงที่ๆต้องการ ลายรักร้อยเป้นลายช่วยประกอบกับลายอื่นๆ โดยมากไม่มีใช้เฉพาะตัวของมันเอง ถ้าเป้นลายรักร้อยใหญ่ ใช้วิธีแบ่งตัวเหมือนกระขังใบเทศหรือจะเอาวิธีแบ่งตัวของกระจังหูมาใช้ก็ได้
บัวหงาย และ บัวคว่ำ 
  • บัวหงายและบัวคว่ำ ประกอบด้วยกระจังตาอ้อย หรือกระจังใบเทศ ใช้เขียนต่อกันไปทั้งซ้ายและขวา จนถึงที่เราต้องการ แล้วใช้กระจังใบเทศ ใช้เขียนต่อกันไปทั้งซ้ายและขวา จนถึงที่เราต้องการ แล้วใช้กระจังครั้งตัวห้ามทั้งสองข้าง ระหว่างตัวที่ว่างใช้กระจังแทรก ตัวแทรกนี้คือตัวกระจังนั้นเอง เอาเฉพาะตอนยอดของกระจังมาใส่ถ้าเป็นลายยังขนาดโตก็ใช้ตัวแทรกขึ้นไปเป้นลำกับลายบัวหงาย-บัวคว่ำ เป็นชายช่วยประกอบลายอื่นๆ ไม่มีใช้เฉพาะตัวของมันเอง หมายเลข๑บัวหงาย หมายเลข๒บังคว่ำ.
ช่อแทงลาย และ กรุยเชิง 
  • ช่อแทงลาย คือเอาตัวกระจงใบเทศเขียนทรงตัวให้สูงขึ้น หรือ ทรงยาวเพรียวขึ้นประมาณสองส่วนของส่วนกว้าง ที่ว่างใส่ตัวแรก ถ้าใส่แทรกตัวหนึ่งแล้วยังมีที่ว่างใส่ได้อัก วิธีแบ่งตัวทำเช่นเดียวกับลายบัวหงายบัวคว่ำ วิธีประประดิษฐ์ลายช่อแทงลาย เอากระจังหูหรือพุ่มทรงข้าวบิณฑมาใช้ก็ได้
  • กรุยเชิง ก็ใช้กระจังใบเทศ หรือกระจังหู พุ่มทรงข้าวบิณฑ มาเขียนทรงให้ยาวประมาณสามส่วน และต่อยอดยาวเป็นเส้นอย่างกรุ่ยผ้า ใช้ให้ยาวไปเท่าใดก็ได้แล้วแต่จะเหมาะสม แต่ต้องให้ยอดลง ถ้าจะใช้กระจังหูหรือพุ่มทรงข้าวบิณฑมาประดิษฐ์เป็นกรุยเชิงการใส่ตัวแรกแทรกใช้ต่างกัน คือใช้ตัวแทรกไม่ทับกัน ใช้ตัวแทรกมาก้านต่อ(ดูแบบลายกรุยเชิงที่ประกอบครบถ้วน)ช่อแทงลาย หรือ กรุยเชิงนี้ เป็นลายช่วยประกอบลายอื่นเฉพาะตัวของมันเอง
กนกสามตัว 
  • กนกสามตัวจัดว่าเป็นแม่ลายที่สำคัญมาก เท่ากับเป็นแม่บทของกนกต่างๆทุกชนิดเพราะกนกทุกชนิดก็ได้แยกออกไปจากนกสามตัวและตอนยอดก็ใช้เหมือนกนกสามตัวให้อ่อนลื่นลงไป กาบบนคงใช้ตามทรงเดิมของกนกสามตัวการเขียนกนกตัวอื่นๆก็คล้ายคลึงกัน มีเพิ่มกาบมากบ้างน้อยบ้าง และบางตัวกนกก็ใช้ขมวดยอดลายและกาบ ก็เกิดเป็นรูปตัวกนกต่างๆแต่ทรงของตัวกนกคงเหมือนเดิมกับกนกสามตัวทั้งนั้นฉะนั้น การฝึกหัดเขียนจำต้องเขียนให้จำได้แม่นยำจริงๆ เมื่อจำกนกสามตัวได้แน่นนอนแล้ว การเขียนตัวกนกอื่นๆต่อไปก็จะจำได้ง่าย 
  • วิธีฝึกหัดเขียนที่ดี ใช้ว่าเพียงแต่จำทรงตัวกนกได้แบ่งกาบถูกต้อง ทำยอดกนกได้ดีเท่านั้น จำจะต้องเขียนตัวกนกให้ยอดหันเหไปได้รอบตัว โดยไม่ต้องหมุนกระดาษที่เขียนไปคือเขียนตัวกนกให้ยอดลง ให้ยอดไปข้างซ้ายหรือข้างขวา หรือยอดให้เฉียงไปทางใดก็ได้นอกจากนี้ยังต้องเขียนกนกย่อ และขยายให้เล็กโตเท่าใดก็ได้ตามความต้องการ จึงจะจัดว่าเขียนตัวกนกได้ดี 
  • และตัวกนกมีความสำคัญอยู่อีกประการหนึ่ง เช่น กนกสามตัวๆที่สามคือกาบบนกาบล่างที่ซ้อนกันอยู่ในตัวกนกนั้น เมื่อถึงการประดิษฐ์ลายก็แยกเอากาบเหล่านี้มาประกอบสลับติดต่อกัน มีกาบเล็กบ้างโตบ้าง ก็จะเกิดเป็นเถาลายขึ้น ความสำคัญของตัวกนกมีอยู่ดังนี้ การฝึกหัดเขียนที่ดีควรทวนความจำทุกวันไม่มากก็น้อย
กนกเปลว 
  • กนกเปลวมีทรงเหมือนกนกสามตัว แต่กาบล่างของกรกเปลวต่างกัน ไม่มีแง่หยักเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เขียนลื่นๆและการสอดไส้กาบ คือการแบ่งกาบก็ต่างกัน ส่วนกาบบนและยอดคงเหมือนกับกนกสามตัว ส่วนกาบล่างแบ่งต่างกันการฝึกหัดคงเหมือนกนกสามตัวทุกอย่าง
กนกใบเทศ
  • กนกใบเทศมีทรงเหมือนกนกสามตัว แต่การแบ่งตัวของกนกใบเทศ ใช้ใบเทศเกาะติดอยู่กับก้าน หรือเป็นแข้งสิงห์เกาะอยู่กับก้านก็ได้ แต่การวางจังหวะใบเทศหรือแข้งสิงห์จะต้องให้อยู่ในทรงของกาบกนกสาตัว ฉะนั้น เมื่อจะวางแข้งสิงห์หรือตัวใบเทศจะต้องร่างทรงกาบของกนกสามตัวเสียก่อน แล้วจึงวางใบเทศหรือแข้งสิงห์ ส่วนตัวยอดเขียนให้ยอดสบัดเหมือนกนกสามตัว วิธีแบ่งใบเทศ แบ่งตัวอย่างกระจังใบเทศ ถ้าจะทำให้เป็นแข้งสิงห์(ดูแบบตัวที่สาม) การฝึกหัดเขียนปฏิบัติเช่นเดียวกับกนกสามตัว

เทศหางโต 
  • เทศหางโต หรือ หางโต มีลักาณะรูปร่างเหมือนกนกใบเทศตลอดจนส่วนประกอบก็เช่นเดียวกัน แต่ผิดกันก็ตอนบนของหางโต ใช้ทรงพุ่มทรงข้าวบิณฑต่อจากก้านหรือจะใช้ใบเทศต่อก้านก็ได้ เมื่อถึงตอนยอดก็ให้ยอดสบัดเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เทศหางโต หรือ หางโต เมื่อเข้าลายหรือผูกลายจะใช้ปนกับกนกใบเทศก็ได้การฝึกหัดเขียนปฏิบัติเช่นเดียวกับกนกสามตัว
ตัวย่อของกนกตามลำดับ 
  • การที่จะผูกลายหรือประดิษฐ์ลาย จำเป็นต้องรู้จักเขียนตัวย่อ ของกนกที่เล็กที่สุดจนถึงตัวที่ใหญ่ขึ้นไปด้วย เพราะว่าการผูกลายนั้น ถ้าเขียนตัวกนกหรือกาบลายมีขนาดเท่ากันไปหมดทุกตัวแล้ว ก็จะไม่เป็นลายที่งาม ลายที่งามจะต้องมีจังหวะมีระยะตัวกนกเล็กบ้างโตบ้าง กาบก็เช่นเดียวกัน ต้องมีเล็ก มีโต มีแบ่งสอง แบ่งสาม สุดแต่ลายที่เขียนนั้นมีเนื้อที่เล็กหรือใหญ่ถ้ามีเนื้อที่ใหญ่ ก้จะผูกลายได้งามเพราะจะได้แสดงวิธีแบ่งตัวต่างๆได้หลายอย่าง(ตามภาษลายเรียกว่า มีลูกเล่นมาก) ซึ่งเป็นการแสดงความสามารถของผู้เขียน ฉะนั้นการย่อหรือการขยายตัวลายนี้ จัดว่าเป็นสำคัญอย่างหนึ่ง
    • แบบที่ ๑ ย่อและขยายกาบซ้อน จนถึงยอดสบัด
    • แบบที่ ๒ ย่อและขยายไส้ขมวด จนถึงยอดสบัด
    • แบบที่ ๓ ย่อและขยายตัวใบเทศ
  • วิธีเขียนย่อหรือขยายลายนี้ จะเป็นกนกชนิดก็เขียนเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าเป็นกนกหัวกลับ และกนกผักกูด(กนกเขมร)ก็ใช้ยอดขมวด
ลายหน้ากระดาน 
  • ลายหน้ากระดานเป็นลายติดต่อซ้ายและขวา จะต่อกันได้เรื่อยๆไปไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อต่อกันไปพอกับความต้องการแล้ว จะหยุดต้องใส่ตัวห้าม ตัวห้ามนี้คือตัวประจำยามนั่นเองแต่เขียนให้โตกว่าตัวลายที่ประกอบอยู่ในลายหน้ากระดาน หรือจะใช้กระจังหูห้ามก็ได้ แล้วแต่ลักษณะของลายที่เขียน ควรจะใช้อย่างใดห้าม
      แบบที่ ๑ เป็นลายหน้ากระดาน ประจำยามก้ามปู ก้ามปูคือมีตัวประจำยามอยู่กลางและมีกนกติดอยู่ทั้งสองข้าง และมีตัวประจำยามคั่น รวมเรียกว่า “ลายประจะยามก้ามปู”เป็นลายที่ใช้ในรูปจำกัด จะต้องมีจังหวะที่เขียนตัวประจำยามและก้ามปูได้พอเหมาะกับเนื้อที่
     
  • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๒
      แบบ๒ เป็นลายหน้ากระดาน ลูกฟักก้ามปู ลูกฟักคือ มีตัวประจำยาม และต่อด้วยกระจังใบเทศทั้งสองข้าง เป็นตัวคั่นระหว่างก้ามปู รวมเรียกว่า “ลายลูกฟักกามปู”เป็นลายที่ขยายให้ยาวต่อไปอีก เป็นลายที่ไม่จำกัดเนื้อที่ใช้ได้ตามความพอใจ
     
  • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๓
      แบบ ๓ เป็นลายก้านแบ่ง มีตัวประจำยามคั่นเป็นที่ออกลายและเป็นที่ห้ามลายไปในตัวมันเอง ระหว่างตัวประจำยาม มีเถาลายและกนกยอดสลับกัน รวมเรียกว่า”ลายประจำยามก้านแย่ง”เป็นลายที่ขยายเนื้อที่มากกว่าลายประจำยามก้ามปู ลายประจำยามก้านแย่งมีวิธีเขียนหลายอย่าง
     
  • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๔
      ลายหน้ากระดานทั้งสามแบบนี้ แสดงถึงการใช้เนื้อที่วางจังหวะตัวประจำยามต่างกันลายหน้ากระดานมีอยู่มากด้วยกันหลายชนิด เรียกชื่อต่างๆกันเป็นลายช่วยประกอบกับลายอื่น และจะใช้เฉพาะตัวเองของมันก็ได้ เช่นเขียนลายกรอบรูปจะเป็นรูปสี่เหลี่มหรือรูปวงกลม จะเอาลายหน้ากระดานมาใช้ก็ได้
    หมายเลข ๑ ลายประจำยามก้ามปู ๒ ลายประจำยามแก้มแย่ง ๓ ลายลูกฟักก้ามปู

 

ประกอบลายฐาน

  • การใช้ลายเข้าประกอบเป็นรูปจัดว่าสำคัญมาก เพราะการใช้ลายจะใช้ไปตามใจชอบไม่ได้ ต้องใช้ให้ถูกเรื่องของมัน ต้องรู้ว่าอะไรต่อกับอะไรได้ และอะไรติดกันไม่ได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรระวังให้มาก
  • ลายฐานหรือลายแท่นแบบหนึ่ง ประกอบด้วยลายหน้ากระดาน ลายบัวหงายบังคว่ำและลายท้องไม้ 
  • ลายฐานหรือลายแท่นแบบสอง ประกอบด้วยลายหมายเลข๑ ลายหน้ากระดานเลข ๒ คือเส้นลวดขึ้นระหว่างลายต่อลาย เลข๓ ลายบัวหงาย เลข๔ลายทองไม้ เลข๕ลายลูกแก้ว เลข๖ ลายบัวคว่ำ เลข๗ ลายหน้ากระดาน 
  • จงสังเกตุลายแท่นทั้งสองนี้ มีอะไรต่างกัน และใช่อะไรที่ซ้ำกัน เช่น แบบหนึ่งมีท้องไม้อันเดียว แบสองมีท้องไม้ขนาบลูกแก้วทั้งข่างล่างและข้างบน เป็นที่สังเกตุว่าท้องไม้เมื่อเล็กลงมากก็มีแต่เส้นว่าง แต่เส้นว่างนั้นต้องใหญ่หรือเล็กกว้างกว่าเส้นกันลาย นี่เป็นวิธีหนึ่งของการใช้ลาย (ซึ่งจะให้เห็นวิธีเขียนบัวอีกหลายชนิด ประกอบอยู่ในรูปต่างๆ)

 

เครื่องประกอบลาย

  • เครื่องประกอบลาย แบบ๑
      การเขียนลายหรือผูกลายที่งามนั้น ก็ต้องมีเครื่องตบแต่งประกอบเพื่อส่งเสริมให้ลายที่เขียนนั้นงดงามดูวิจิตรพิสดาร เครื่องตบแต่งนี้ก้คือเครื่องประลายนั้นเอง เครื่องประกอบลายต่างๆมีอยู่ในกนกสามตัวทั้งนั้น ได้ถอดเอาออกมาและแยกเป็นส่วนๆ ออกเป็นกาบช้อนออกเป็นตัวกนก, และออกเป็นยอดลายก้านขด
     
  • เครื่องประกอบลาย แบบ๒
      ลายไทยมีอยู่หลายอย่างหลายชนิดด้วยกัน สำหรัยใช้ในงานแต่ละอย่าง และยังมีวิธีเขียนต่างกันด้วย เช่นเขียนลายถม, ลายลงยาสี, ลายตัวนูน เช่นปั้น, สลัก, แกะไม้ และปักดิ้นปักไหมลายฉลุ ฯลฯ เขียนลายชนิดไหนก้ใช้เครื่องประกอบลายชนิดนั้นให้มากเช่นเขียน ลายนกใบเทศประกอบเถาให้มาก นอกจากใช้กาบต่างๆประกอบเป็นเถาหนึ่งให้ออกไปเป็นอีกเถาหนึ่งนั้น ระหว่างที่จะแยกจากเถาต้องมี นกคาบ, กาบคู่หรือกาบไขว่เสมอไป(ดูกกผูกลายบทที่ ๒๖) ในแบบนี้แถวบนเป็นเครื่องประกอบลายใบเทศ และตอนล่างทั้งหมดเป็นที่แยกลาย ฉะนั้นการเขียนกาบและนกคาบเหล่านี้ต้องเขียนซ้ำๆกัน ให้จำได้อย่างแม่นยำ เพื่อสะดวกในเวลาคิดผูกลาย

    ทรงตัวกนก และกาบหันเหได้ 
    • การใช้กาบและตัวกนกเมื่อเวลาเข้าประกอบลาย ตัวกนกและกาบยอดจะหันเหไปทางไหนก็ได้ สุดแล้วแต่ความต้องการ แต่ต้องรักษาทรงตัวอย่าให้เสีย เพราะว่าการผูกลายกาบหรือตัวกนก กาบหรือตัวกนกย่อมไม่คงที่ อาจมีตัวเล็กตัวโต กาบเล็กและกาบใหญ่ สุดแล้วแต่เนื้อที่และการใช้ช่องไฟพื้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น